สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

ความหมายและเจ้าของอำนาจอธิปไตย

  1. คำว่า “Power” คือ สิทธิหรือความสามารถที่จะทำการหรืองดเว้นทำการใดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
  2. คำว่า “Authority” คือ อำนาจที่ได้รับมอบหมาย
  3. อำนาจเป็นสิ่งสำคัญในทางการเมือง ในทางรัฐศาสตร์นั้นกล่าวกันว่า “การเมืองเป็นการต่อสู้เพื่ออำนาจ”
  4. คำว่า “อำนาจอธิปไตย” เป็นคำที่เพิ่งเรียกกันในสมัยศตวรรษที่ 16 นี้เอง แต่เดิมเคยเรียกกันว่า อำนาจสูงสุด
  5. วิวัฒนาการของการอ้างความเป็นเจ้าของอำนาจ มีหลายทฤษฎี เช่น

    (1) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า
    (2) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา
    (3) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์
    (4) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
    (5) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
  6. บุคคลแรกที่ใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย” ในความหมายทางการเมืองดังที่เข้าใจในปัจจุบันคือ นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง โบแดง ซึ่งในวรรณกรรม 6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ ได้อธิบายไว้พอสรุปได้ดังนี้
    - อำนาจอธิปไตย คืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
    - อำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ มิใช่ของราษฎร
    - ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยควรเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งทางเป็นรัฏฐาธิปัตย์
    - รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน สามารถออกคำสั่งให้ราษฎรปฏิบัติตามได้ แต่ตนไม่อยู่ใต้ คำสั่งของผู้ใด
  7. บุคคลต่อมาผู้สนับสนุนทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ คือ โธมัส ฮอบส์
  8. รัฐธรรมนูญของประเทศที่ยอมรับทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ คือ รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม รัฐธรรมนูญไวมาร์ของเยอรมัน รัฐธรรมนูญเชโกสโลวาเกีย ฯลฯ

ลักษณะของอำนาจอธิปไตย

  1. อำนาจอธิปไตย มีลักษณะสำคัญดังนี้
    - ความเด็ดขาด - ความถาวร
    - ความครอบคลุมทั่วไป - ความไม่อาจถูกแบ่งแยกได้
  2. อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบประการหนึ่งของรัฐ ถ้าไม่มีอยู่ในสังคม สังคมนั้นก็ไม่เรียกว่า “รัฐ”
  3. อำนาจอธิปไตยนั้น ไม่อาจถูกแบ่งแยกกันออกเป็นหลายเจ้าของได้ ถ้าแบ่งกันเป็นเจ้าของ รัฐเดิมก็สูญสลายหรือต้องแยกออกเป็นสองรัฐ เช่น เกาหลี แบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

การแบ่งแยกอำนาจ

1. การแบ่งแยกอำนาจนี้น่าจะมีมาแต่สมัยกรีกแล้ว ดังที่อริสโตเติลเองได้จำแนกอำนาจหน้าที่ของรัฐออกเป็นองค์การปกครองต่างๆ กัน เช่น

  • สภาประชาชน
  • ศาลประชาชน
  • คณะมนตรีผู้บริหารรัฐ 

2. ปรัชญาเมธีที่สำคัญที่สุดที่พูดถึงการแยกอำนาจ คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้ใช้เวลาศึกษาการเมืองอยู่ที่อังกฤษนานถึงปีครึ่ง จนเกิดแรงบันดาลใจให้เรียบเรียงวรรณกรรมสำคัญเล่มหนึ่ง คือ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (Esprit des lois) โดยได้อธิบายว่าในรัฐจะมีอำนาจอยู่ 3 อย่าง คือ

  • อำนาจนิติบัญญัติ
  • อำนาจปฎิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน (สมัยนี้เรียกว่า อำนาจบริหาร)
  • อำนาจปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง (สมัยนี้เรียกว่า อำนาจตุลาการ)

3. ในการแบ่งแยกอำนาจนั้น มองเตสกิเออได้ให้หลักเกณฑ์ไว้เพียงว่า

  1. หัวใจของการแบ่งแยกอำนาจอยู่ที่ว่า อย่าให้มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่องค์กรเดียว
  2. การแบ่งแยกอำนาจคือ การแบ่งแยกองค์กรแยกย้ายกันทำหน้าที่ เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองราษฎร
  3. จะแบ่งแยกอำนาจออกเป็นกี่องค์กร อยู่ที่สภาพแห่งกิจการ

4. รัฐบาลไทย ไม่เคยยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจที่เคร่งครัดหรือเด็ดขาด โดยมีหลักฐานปรากฏดังนี้

  • รัฐธรรมนูญยอมให้รัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
  • รัฐธรรมนูญยอมให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ และออกกฎหมายบางประเภทได้

รูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย

1. การใช้อำนาจอธิปไตย มีหลายรูปแบบ ดังนี้

  1. กรณีองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
  2. กรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
  3. กรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
  4. กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ ออกจากกันอย่างเกือบเด็ดขาด
  5. กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ ออกจากกัน แต่ให้เกี่ยวข้องกันได้มากขึ้น

2. กรณีการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ ออกจากกันเกือบเด็ดขาดนั้น รูปแบบนี้ใช้กับประเทศในระบบประธานาธิบดี

3. กรณีการแบ่งแยกอำนาจประเภทแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ ออกจากกัน แต่ให้เกี่ยวข้องกัน รูปแบบนี้อยู่ใช้อยู่ในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย

4. “เป็นที่รู้กันอยู่ชั่วนิรันดรแล้วว่า คนเราทุกคนที่มีอำนาจชอบใช้อำนาจเกินกว่าที่ควร จนกว่าจะประสบอุปสรรคใดขวางจึงจะหยุดยั้ง อย่าว่าแต่อะไรเลย แม้แต่คุณธรรมยังต้องมีขอบเขต” เป็นคำกล่าวของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ “มองเตสกิเออ”

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย