สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

1. กฎหมายมหาชนพัฒนาไปตามความคิดของนักปรัชญากฎหมาย หรือการเมืองในแต่ละสมัยมากกว่าอย่างอื่น ปรัชญาของใครมีผู้เห็นด้วยเป็นอันมากก็มีอิทธิพลมาก มีผู้รับเอาไปใช้เป็นรากฐานในการยกร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง และกฎหมายมหาชนอื่นๆ

2. ปรัชญากฎหมายและการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ

  1. ฝ่ายนิยมกฎหมายธรรมชาติ เชื่อว่า
    - ต้องจำกัดอำนาจรัฐอันไม่เป็นธรรม ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงจากฝ่ายปกครอง
    - คำสั่งคำบัญชาของผู้ปกครองอยู่ภายใต้กฎหมายธรรมชาติอันเป็นสากล
    - ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม มีสิทธิร้องทุกข์หรือฟ้องร้องได้
    - รัฐเกิดจากสัญญาประชาคม อำนาจอธิปไตยถ้าไม่มาจากพระเจ้าก็มาจากประชาชน
    - รัฐต้องเป็นนิติรัฐ การปกครองต้องใช้หลักนิติธรรม
  2. ฝ่ายยึดถือกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เชื่อว่า
    - รัฐมีอำนาจสูงสุดในการจัดการปกครองบ้านเมือง
    - อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์หรือรัฐบาล ซึ่งเรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์”
    - รัฐมิได้เกิดจากสัญญาประชาคม แต่เกิดจากการตั้งขึ้นโดยรัฏฐาธิปัตย์
    - คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์เป็นกฎหมาย
    - กฎหมายทุกอย่างเป็นกฎหมายมหาชน

3. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปมาก กล่าวคือ

  1. การปฏิวัติในสมัยศตวรรษที่ 18 – 19 เช่นในสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ตลอดจนการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่ 20 ก็มีการอ้างถึงสิทธิธรรมชาติ
  2. กฎหมายมหาชน ประเภทกฎหมายสังคม และกฎหมายเศรษฐกิจหลายเรื่องก็เกิดขึ้นบนรากฐานของกฎหมายธรรมชาติ
  3. กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎหมายแห่งศีลธรรม มโนธรรม ความเป็นธรรม และความมีเหตุมีผล
  4. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนแทรกซึมเข้าไปกลมกลืนกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง และทำให้กฎหมายมหาชนเป็นธรรมขึ้น

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย