สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

กฎหมายมหาชนรุ่งเรืองมากในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 – 20 ซึ่งมีการผสมผสานความคิดระหว่างปรัชญากฎหมายธรรมชาติกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง และมีการจัดทำกฎหมายมหาชนขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญ นักปรัชญาในยุคสมัยนี้มีหลายท่าน และส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป

เจมส์ แฮริงตัน (James Harrington) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวอังกฤษ ซึ่งมีความเห็นว่า อำนาจของรัฐบาลมาจากทรัพย์สิน
  • เจ้าของวรรณกรรม “The Commonwealth of Oceanna”
  • สนับสนุนการเลือกตั้งเสรี การมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และเสรีภาพในการนับถือศาสนา
  • ปรัชญาของแฮริงตันมีอิทธิพลอย่างมากในสหรัฐอเมริกา จนกล่าวกันว่า การที่สหรัฐอเมริกามีรัฐ ธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดระบบการปกครองในรูปที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะอิทธิพลจาก วรรณกรรมของแฮริงตันนั่นเอง

จอห์น ล้อค (John Locke) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวอังกฤษ ศึกษาทางด้านปรัชญาและรัฐศาสตร์
  • เจ้าของวรรณกรรม “สองเล่มว่าด้วยการปกครอง” (Two Treatises of Government)
  • ล้อคมีความเห็นว่า มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีสิทธิอยู่ในตัวนับแต่เกิดมา

เอ็ดมันด์ เบอร์ค (Edmund Burke) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวไอร์แลนด์
  • เจ้าของวรรณกรรมสำคัญ “สดุดีสังคมธรรมชาติ” (A Vindiication of Natural Society) “ย่อประวัติ ศาสตร์อังกฤษ” (Abridgrment of the History of England) และ “บทเรียนว่าด้วยกฎหมายในระบบ สันตะปาปา” (Tracts on the Popery Laws)
  • เบอร์ค เน้นเรื่องการนำสิทธิตามธรรมชาติมาปรับเข้ากับการเมืองการปกครอง อันเป็นหลักสำคัญ อย่างหนึ่งในทางกฎหมายปกครอง

เจเรมี แบนเธม (Jeremy Bentham) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวอังกฤษ
  • เจ้าของวรรณกรรม “ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักศีลธรรมและงานนิติบัญญัติ” (Introdution to the Principles of Morals and Legislation) ซึ่งทำให้แบนเธมกลายเป็นปรัชญาเมธีทางกฎหมาย มหาชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่ง

อัลเบิร์ต เวนน์ ไดซี่ย์ (Albert Venn Dicey) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
  • เจ้าของวรรณกรรม “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ” (Introdution to the Study of the Law of the Constitution) ซึ่งถือว่าเป็นตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญที่สำคัญที่สุด เล่มหนึ่งของอังกฤษ
  • วรรณกรรมเล่มนี้ ได้อธิบายถึงปรัชญากฎหมาย 3 ประการ คือ
    * ปรัชญาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษร กับกฎหมายจารีตประเพณี
    * ปรัชญาว่าด้วยอำนาจสูงสุดของรัฐสภา
    * ปรัชญาว่าด้วยหลักนิติธรรม
  • มีผู้วิจารณ์ว่า เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญทำให้กฎหมายปกครองของอังกฤษพัฒนาไปได้ช้ามาก

มองเตสกิเออ (Montesquieu) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นนักปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส
  • เจ้าของวรรณกรรมเสียดสีประชดประชันสังคมฝรั่งเศส “จดหมายจากเปอร์เซีย” (Letters Persanes)
  • เจ้าของวรรณกรรม “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (Esprit des lois) ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ออกเป็น 3 ประการ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจปฏิบัติการซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน และอำนาจปฏิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง

ฌอง ฌาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นนักปรัชญาชาวสวิส พออายุ 16 ปี จึงย้ายไปพำนักในฝรั่งเศส
  • เจ้าของวรรณกรรมอันลือลั่นชื่อ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึง
     
    * รัฐเกิดขึ้นจากคนหลายคนมาอยู่รวมกัน และสละประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
    * รัฐควรเป็นใหญ่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
    * อำนาจอธิปไตยควรเป็นของชาติ หรือเป็นของประชาชน
  • วรรณกรรมของรุสโซเรื่องนี้ มีอิทธิพลมากต่อการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1776
  • เกอเต้ นักประพันธ์ชาวเยอรมันกล่าวว่า โลกใหม่เริ่มต้นเมื่อรุสโซเขียนวรรณกรรมอมตะเล่มนี้

โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวเวอร์จิเนีย และเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา
  • สมัยประกาศเอกราชเมื่อปี ค.ศ.1776 เจฟเฟอร์สัน ได้เป็นผู้ร่วมร่าง “คำประกาศอิสรภาพ” ด้วยผู้หนึ่ง
  • คำประกาศอิสรภาพนี้ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิตามธรรมชาติหลายประการ เช่น สิทธิในเสรีภาพ สิทธิใน ความเสมอภาค สิทธิที่จะก่อการปฏิวัติ และสิทธิที่จะสถาปนาประเทศเอกราช

จอห์น มาร์แชล (John Marshall) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นประธานศาลฎีกาคนสำคัญในช่วงต้นของการสร้างประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คำพิพากษาของท่านผู้นี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของการพิจารณาตัดสินคดีในเวลาต่อมา
  • คำพิพากษาที่สำคัญที่สุด คือ คำพิพากษาในคดี Marbury V. Madison ซึ่งมาร์แชลวินิจฉัยว่า
     
    * รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
    * กฎหมายธรรมดาจะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้
    * ถ้ากฎหมายธรรมดาขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายธรรมดาย่อมไร้ผลบังคับ
    * เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลย่อมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
    * คำวินิจฉัยของศาลถึงที่สุด

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวยิว เกิดในเยอรมันตะวันตก สำเร็จปริญญาเอกทางปรัชญาและประวัติศาสตร์
  • ได้พบกับฟรีดริค เองเกิลส์ ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนบทความทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์หลายเรื่อง จนถูกขับออกจากประเทศฝรั่งเศส
  • ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนวรรณกรรมเล่มหนึ่งชื่อ “คำประกาศป่าวร้องของคอมมิวนิสต์” (Communist Manifesto) ซึ่งเป็นคัมภีร์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา
  • ปรัชญาของมาร์กซ์ มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชนในประเทศสังคมนิยมเป็นอันมาก

ฮันส์ เคลเส้น (Huns Kelsen) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้

  • เป็นชาวเชโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญออสเตรีย ฉบับ ค.ศ.1920
  • วรรณกรรมของท่านผู้นี้ มีผู้แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ เกือบทั่วโลก

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย