สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายมหาชน

องค์ประกอบของรัฐ

รัฐ (State) เป็นชุมชนทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

  • ประชากร (Population) (3) อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)
  • ดินแดน (Territory) (4) รัฐบาล (Government)

ชาติ (Nation) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม มีความผูกพันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ร่วมกันในทางประวัติศาสตร์ หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน

รัฐเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น ขึ้นกับ

  1. ในแง่กฎหมายเอกชน ขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชนของแต่ละรัฐ
  2. ในแง่กฎหมายระหว่าประเทศ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชนของแต่ละรัฐเช่นกัน
  3. สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ได้เป็นนิติบุคคลไม่ว่าจะพิจารณาในแง่กฎหมายเอกชนหรือมหาชน

นิติรัฐ

  1. นิติรัฐ หมายถึงรัฐที่นับถือหรือยกย่องกฎหมายเป็นใหญ่
  2. รากฐานของปรัชญาว่าด้วยนิติรัฐมีมาตั้งแต่สมัยกรีก เมื่ออริสโตเติลได้กล่าวถึงรัฐที่ดีกว่า จะต้องมีผู้นำที่ดี และผู้นำที่ดีจะต้องเคารพกฎหมาย
  3. ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็น “นิติรัฐ” นั้น จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
    (1) ประเทศนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดหมด
    (2) ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐ ย่อมกำหนดไว้แน่นอน
    (3) ผู้พิพากษาจะต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี

แนวความคิดเรื่องนิติรัฐ ก่อให้เกิดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) ซึ่งไดซีย์ นักกฎหมายรัฐธรรมนูญชาวอังกฤษ ได้สรุปหลักนิติธรรมไว้ 3 ประการ ดังนี้

  1. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
  2. บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันและศาลเดียวกัน
  3. ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี

» กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์

» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย

» ความหมายของกฎหมายมหาชน

» ประเภทของกฎหมายมหาชน

» บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน

» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน

» นักปรัชญาสมัยกรีก

» นักปรัชญาสมัยโรมัน

» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ

» องค์ประกอบของรัฐ

» ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

» ประวัติของรัฐธรรมนูญ

» อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ

» รัฐธรรมนูญไทย

» การแก้ไขและยกเลิกรัฐธรรมนูญ

» โครงร่างของรัฐธรรมนูญ

» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ

» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

» ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

» แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย

» ลักษณะของรัฐสภา

» การเลือกตั้ง

» พรรคการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย