สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
1.
ประมวลกฎหมายแพ่งของพระเจ้าจัสติเนียนมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศในภาคพื้นยุโรป
เช่น อิตาลี ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และเยอรมัน
2.
สิ่งสำคัญที่ฝังรากในยุโรปควบคู่กับการยอมรับอิทธิพลของประมวลกฎหมายแพ่งโรมัน คือ
ความคิดที่ว่า กฎหมายเอกชนแตกต่างจากกฎหมายมหาชน โดยวาทะของ อัลเปียน
ที่กล่าวถึงความแตกต่างดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในยุโรป
3. ราวศตวรรษที่ 13 14
การศึกษากฎหมายในทางทฤษฎีหรือปรัชญาซึ่งนิยมแพร่หลายในยุโรป
สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของสำนักกฎหมายธรรมชาติ
ซึ่งนักศึกษากฎหมายในยุคสมัยนี้ได้เสนอความคิดที่ถือกันว่าเป็นความคิดในการปรับปรุงกฎหมายมหาชน
ดังนี้
- ควรมีการออกกฎหมายจำกัดอำนาจอันไม่มีขอบเขตของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการออกกฎหมายหรืออำนาจในการปฏิบัติต่อราษฎร
- ราษฎรคนใดไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ก็ควรร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
- การลงโทษในทางอาญาควรเป็นธรรมมากขึ้น
- วิธีพิจารณาและกฎหมายพยานหลักฐานควรแก้ไขปรับปรุงให้อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมและศาสนา
4. สมัยของพระนางมาเรีย เทเรซ่า
แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันคือประเทศ ออสเตรีย
ได้ขอให้แคว้นต่างๆ จัดทำกฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองขึ้น
เพื่อว่าพระนางจะได้ทรงทราบระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละแคว้น
5. ประเทศเยอรมัน เริ่มพัฒนากฎหมายมหาชน หลังศตวรรษที่ 13 14
และถือหลักว่ากฎหมายมหาชนมีฐานะสูงกว่ากฎหมายเอกชนโดยแบ่งออกเป็น
- กฎหมายมหาชนภายใน เรียกว่า Staatsrecht
- กฎหมายระหว่างประเทศ เรียกว่า Volkerrecht
6. ประเทศฝรั่งเศส มีการพัฒนากฎหมายมหาชนอย่างน่าสนใจที่สุดในภาคพื้นยุโรป สาเหตุเนื่องจาก
- อิทธิพลของกฎหมายโรมัน
- อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
- การปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789
7. ก่อนการปฏิวัติในฝรั่งเศส กฎหมายมหาชนครอบคลุมถึงแต่กฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายศาสนา และระเบียบปฏิบัติทางการเมืองเท่านั้น
ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง
8. ปี ค.ศ.1800 นโปเลียนได้ตั้งสภาด้านกฎหมายขึ้น 2 สภา คือ
- กองเซยเดตาร์ (Conseil d Etat) เป็นสภาแห่งรัฐเพื่อให้คำปรึกษาแก่หัวหน้ารัฐบาลเกี่ยวกับคดีปกครองและให้เป็นฝ่ายกฤษฎีกาทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายของรัฐบาล
- กองเซยเดอเพรเฟกตูร์ (Conseil de Prefecture) เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการท้องที่ปกครอง และให้ทำหน้าที่ตัดสินคำร้องเรียนของราษฎรในคดีซึ่งพิพาทกับฝ่ายปกครอง
9. ปี ค.ศ.1872 ถือว่าเป็นศักราชใหม่แห่งการพัฒนากฎหมายปกครองในฝรั่งเศส เนื่องจา
- มีการออกรัฐบัญญัติให้อำนาจสภาแห่งรัฐตัดสินคดีปกครองได้โดยอิสระ
- มีการจัดตั้ง ทริบูนาล เด กองฟลีท์ (Tribunal des Conflits) ซึ่งเป็นศาลระงับการขัดกันในทางคดีเพื่อ แก้ไขปัญหาขัดแย้งระหว่างสภาแห่งรัฐกับศาลยุติธรรมในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีนี้จะขึ้นศาลใด
10. ปี ค.ศ.1889 สภาแห่งรัฐได้วินิจฉัยคดีปกครองสำคัญ คือ คดีกาโดท์ (Cadot Decision) ซึ่งผลการวินิจฉัยคือ
- สภาแห่งรัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการคดีปกครอง
- สามารถวินิจฉัยความถูกต้องเหมาะสมของการกระทำและอำนาจการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหาร
- สามารถสร้างหลักกฎหมายปกครองในส่วนสารบัญญัติใหม่ๆ ได้
11. ปี ค.ศ.1953 ได้มีการปฏิรูประบบศาลปกครองในฝรั่งเศสใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีผลทำให้
- สภาแห่งรัฐ หรือกองเซยเดตาร์ (Conseil d Etat) มีฐานะเป็นศาลปกครองสูงสุด หรือศาลสูงสุดในทางกฎหมายมหาชน
- ศาลยุติธรรม หรือกูร์ เดอ กาสซาซิยอง (Cour de Cassation) เป็นศาลสูงสุดในทางกฎหมายเอกชน
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย