สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ลักษณะของรัฐสภา
รูปแบบของรัฐสภา
1. รูปแบบรัฐสภา สามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
- รัฐสภาในรูปแบบสภาเดี่ยว (Unicameral) หรือระบบสภาเดียว
- ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวและมีขนาดเล็กมักใช้ระบบสภาเดียว
- เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนน้อย กำดำเนินการทางนิติบัญญัติทำได้รวดเร็ว
- กลุ่มประเทศนี้ ได้แก่ ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย (ยกเว้นนอรเวย์) อัลบาเนีย บุลกาเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี โปแลนด์ โรมาเนีย - รัฐสภาในรูปแบบสองสภา หรือสภาคู่ (Bicareral) หรือระบบสองสภา
- เกิดขึ้นในอังกฤษครั้งแรก ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13
- เกิดขึ้นได้ในประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ (Federal States) เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย บราซิล สวิตเซอร์แลนด์
- เกิดขึ้นได้ในประเทศที่เป็นรัฐเดียว ซึ่งต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความรอบคอบในงานรัฐสภา และต้องการลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
2. ประเทศไทยเคยมีทั้งระบบสภาเดียวและระบบสองสภา
แต่ไม่เคยมีระบบสภาเดียวที่สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
องค์ประกอบของรัฐสภา
1. รัฐสภา ประกอบด้วย จำนวนสภาซึ่งหมายถึงมีสภาเดียวหรือสองสภา
และมวลสมาชิกของสภา ซึ่งมีที่มาจาก
- มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
- มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
- มาจากการสืบตระกูล (สภาขุนนางในอังกฤษ)
- มาจากการแต่งตั้ง
- มาจากผู้แทนกลุ่มชน
2. วิธีการเลือกตั้งโดยอ้อม ทำได้โดยให้ประชาชนเลือกบุคคลหรือคณะบุคคลให้ไปใช้สิทธิเลือกสมาชิกรัฐสภาแทนตน ซึ่งประเทศไทยเคยใช้วิธีการนี้มาแล้ว คือ
- พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ.2475 กำหนดให้ราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงในตำบลเลือกผู้แทนตำบลๆ ละ 1 คน และให้ผู้แทนตำบลในจังหวัดเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดละ1 คน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนเป็นผู้เลือกสมาชิกพฤฒสภา
องค์กรภายในของรัฐสภา
1. งานหลักของสภาชิกรัฐสภา นอกจากการปฏิบัติงานในสภาแล้ว
ยังต้องดูแลทุกข์สุขและรับฟังความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนอีกด้วย ดังนั้น
จึงต้องมีการแบ่งช่วงเวลาทำงานของสมาชิกรัฐสภาออกเป็น 2 ช่วง คือ
- สมัยประชุมสภา
- นอกสมัยประชุมสภา
2. ในสมัยประชุมสภานั้น จะมีระยะเวลาเท่าใดหรือในรอบปีหนึ่งๆ จะมีกี่สมัยประชุมนั้น สุดแล้วแต่จะกำหนดตามความเหมาะสมของรัฐสภาของแต่ละประเทศ
- ถ้าในรอบปีหนึ่งๆ จะกำหนดสมัยประชุมไว้เป็นการถาวร ก็เรียกว่า สมัยสามัญ
- ถ้าหากมีความจำเป็นแล้ว รัฐสภาอาจเรียกประชุมสภาเป็นพิเศษ เรียกว่า สมัยวิสามัญ
3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดให้มีสมัยประชุมของรัฐสภา มี 2 ประการ คือ
- เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภามีเวลากลับไปหาประชาชนซึ่งตนเป็นผู้แทน
- เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารได้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในทางบริหารได้อย่างเต็มที่
4. การแบ่งงานกันทำภายในรัฐสภา แบ่งเป็นดังนี้
- คณะกรรมาธิการ / คณะอนุกรรมาธิการ
- คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งไว้ประจำเป็นการถาวรตลอดอายุของสภา
- คณะกรรมาธิการวิสามัญ ตั้งขึ้นด้วยเหตุผลและความจำเป็นเพื่อดำเนินการเฉพาะกิจ
- คณะกรรมาธิการร่วมกัน สำหรับระบบสองสภา หากสภาหนึ่งไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายของ อีกสภาหนึ่ง ก็จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจากสองสภาขึ้นมาร่วมพิจารณา
- คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภารับหลักการในวาระแรกแล้ว และเป็นเรื่องเร่งด่วน และเป็นร่างกฎหมายที่ไม่สลับซับซ้อน รัฐสภาอาจมีมติให้พิจารณารวดเดียว 3 วาระก็ได้
- คณะอนุกรรมาธิการ โดยคณะกรรมาธิการอาจแต่งตั้งขึ้นมาช่วยปฏิบัติงานในรายละเอียดก็ได้ - ตำแหน่งสำคัญๆ ในรัฐสภา ประกอบด้วย
- ประธานรัฐสภา - ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา
- รองประธานรัฐสภา - ผู้ควบคุมการลงคะแนนเสียงในสภา - สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็นหน่วยงานประจำทำหน้าที่ให้บริการในด้านต่างๆ ทั้งข่าวสารข้อมูล วัสดุอุปกรณ์ และงานธุรการ โดยมีเลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
5. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภานั้น กฎหมายได้ให้ไว้ 2 ประการ ดังนี้
- สมาชิกรัฐสภาผู้ใดจะกล่าวคำใดๆ ในที่ประชุมในทางแสดงข้อความ
หรือแสดงความเห็น
หรือออกเสียงลงคะแนนอย่างใดถือเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภาผู้นั้น
ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องมิได้
- มีความคุ้มกันในทางอาญา โดยในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับกุมหรือเรียกตัวสมาชิกรัฐสภาไปกักขังหรือดำเนินคดี
6. ความเป็นอิสระของหน่วยงานประจำรัฐสภา เพื่อให้ปลอดจากการถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมี 2 ประการ
- ความเป็นอิสระในด้านการบริหารงานบุคคล
- ความเป็นอิสระในด้านงบประมาณและการคลัง
7. สำหรับประเทศไทยในด้านเกี่ยวกับสำนักเลขาธิการรัฐสภา ดังนี้
- ตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา เป็นตำแหน่งที่ทรงโปรดเกล้าฯ โดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามสนอง พระบรมราชโองการ
- ในด้านการบริหารงานบุคคลนั้น ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 แยกจากข้าราชการพลเรือน โดยให้อยู่ภายใต้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.)
- ในด้านงบประมาณและการคลังนั้น ยังคงอยู่ในความควบคุมของฝ่ายบริหาร โดยต้องดำเนินการตาม พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมาย
1. อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
พอแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ
- อำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมาย
- อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร
- อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ
- อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
2. กฎหมายที่เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาที่จะจัดทำขึ้นคือ พระราชบัญญัติ ซึ่งกระบวนการตราพระราชบัญญัติมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
- การเสนอร่าง พ.ร.บ. ซึ่งสามารถเสนอได้ 2 ทาง คือ
- คณะรัฐมนตรี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ครม.มีสิทธิขอพิจารณาร่างก่อน 60 วัน) - การพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร
- การพิจารณาโดยวุฒิสภา
3. กรณีที่เป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงิน มีหลักปฏิบัติดังนี้
- ส.ส. จะเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินได้ ต้องเป็นคำร้องขอของนายกรัฐมนตรี
- กรณีสงสัยว่าเป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้วินิจฉัย
4. การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดยสภาผู้แทนราษฎร มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
- การพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการ ถ้าสภาไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. นั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ารับหลักการก็ดำเนินการต่อไปในวาระที่ 2
- การพิจารณาในวาระที่ 2 เพื่อพิจารณาแก้ไขรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำเนินการ หรืออาจใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็ได้
- การพิจารณาในวาระที่ 3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยไม่มีการอภิปราย ถ้าไม่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นั้นก็ตกไป แต่ถ้าเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอต่อวุฒิสภาต่อไป
5. การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดยวุฒิสภา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
- การพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการ ถ้าวุฒิสภาไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. นั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ารับหลักการก็ดำเนินการต่อไปในวาระที่ 2
- การพิจารณาในวาระที่ 2 เพื่อพิจารณาแก้ไขรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำเนินการ หรืออาจใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็ได้
- การพิจารณาในวาระที่ 3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น มีประเด็นที่แตกต่าง
ดังนี้
- กรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไข ให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ /ประกาศราชกิจจา /ใช้บังคับ
- กรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบกับสภาผู้แทนราษฎร ก็ให้ยับยั้งไว้ก่อนและให้ส่งร่าง พ.ร.บ.นั้นคืน สภาผู้แทนราษฎรไป สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ต้องล่วงพ้น 180 วันไปแล้ว และถ้ายังมีมติยืนร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ผู้แทนราษฎรแล้ว ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯ / ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
- กรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่าง พ.ร.บ.ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้ทั้งสองสภาตั้ง คณะกรรมาธิการร่วมกัน ประกอบด้วยสมาชิกจากแต่ละ สภาในจำนวนเท่ากัน เพื่อพิจารณารายละเอียดร่วมกัน แล้วรายงานและเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่ ผ่านการพิจารณาร่วมแล้วต่อสภาทั้งสอง
* ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบด้วย ก็แสดงว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ / ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
* ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ ก็ให้ยับยั้งไว้ก่อน สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณา ใหม่ต้องล่วงพ้น 180 วันไปแล้ว และถ้ายังมีมติยืนร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่ง หนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ถือว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการ พิจารณาร่วมนั้น ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ / ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
6. กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ.และพระราชทานคืน หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
- รัฐสภาจะต้องปรึกษาเรื่องร่าง พ.ร.บ. กันใหม่
- ถ้ารัฐสภายังมีมติยืนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสอง สภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง
- ถ้าพระมหากษัตริย์ยังไม่ได้พระราชทานลงมา ภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำร่าง พ.ร.บ.ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา / ใช้บังคับ
7. อำนาจหน้าที่ในการอนุมัติพระราชกำหนด มีรายละเอียดดังนี้
- พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มี 2
ประเภท
- พระราชกำหนดทั่วๆ ไป - พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา - ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมาย แต่ต้องขออนุมัติต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็น พ.ร.บ.
- เหตุผลและความจำเป็นในการออกพระราชกำหนดทั่วๆ ไป กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศหรือสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และภัยพิบัติสาธารณะ โดยไม่สามารถเรียกประชุมรัฐสภาได้ทันท่วงที หรือเกิดขึ้นในระหว่างยุบสภา ทั้งนี้ ให้นำเสนอรัฐสภาในการประชุมคราวต่อไป
- เหตุผลและความจำเป็นในการออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา เป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณาลับและเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างสมัยประชุมก็ตาม ทั้งนี้ ให้นำเสนอรัฐสภาภายใน 3 วัน นับจากวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร
1. การควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ทำได้ 2 แบบ คือ
- การตั้งกระทู้ถาม
- การเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไป
2. การตั้งกระทู้ถาม คือ ข้อความที่ตั้งคำถามในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งตั้งถามรัฐมนตรี ในข้อเท็จจริงหรือนโยบายเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถามนั้น มี 2 ประเภท คือ
- กระทู้ถามที่ให้ตอบในที่ประชุมสภา
- กระทู้ถามที่ให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา นอกจากนี้ กระทู้ถามยังมี 2 ลักษณะ
คือ
(1) กระทู้ถามธรรมดา (2) กระทู้ถามด่วน
3. ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการตั้งกระทู้ถาม มี 3 ประการ คือ
- คำถาม ข้อเท็จจริงที่อ้าง ตลอดจนคำชี้แจงประกอบ ต้องไม่ฟุ่มเฟือย วกวน ซ้ำซาก หรือมีลักษณะเป็นทำนองอภิปราย
- กรณีกระทู้ถามในเรื่องที่ได้ตอบหรือชี้แจงไปแล้ว จะตั้งกระทู้ถามใหม่ได้ ถ้าสาระสำคัญต่างกัน
- ในการประชุมแต่ละครั้ง สมาชิกสภา 1 คน ตั้งกระทู้ถามได้เพียง 1 กระทู้เท่านั้น
4. หลักเกณฑ์การบรรจุระเบียบวาระเกี่ยวกับกระทู้ถาม
- ถ้าเป็นกระทู้ถามธรรมดา ให้บรรจุระเบียบวาระประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ประธานสภาจัดส่ง กระทู้ไปยังรัฐมนตรีแล้ว
- ถ้าเป็นกระทู้ถามด่วน ตอนส่งกระทู้ไปยังรัฐมนตรี ต้องระบุไปด้วยว่าได้บรรจุลงในระเบียบวาระการ ประชุมคราวใด
- การบรรจุกระทู้ลงในระเบียบวาระการประชุม ต้องเรียงลำดับก่อนหลัง เว้นแต่รัฐมนตรีจะขอเลื่อน
- การประชุมแต่ละครั้ง จะบรรจุกระทู้ถามได้ไม่เกิน 5 กระทู้ เว้นแต่กรณีจำเป็นเร่งด่วน
5. วิธีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
- ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด เข้าชื่อกันเสนอญัตติ
- ประธานรัฐสภาแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรี และบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
- ประชุมเพื่ออภิปรายทั่วไป / รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายชี้แจงข้อเท็จจริง
- การลงมตินั้นจะกระทำในวันเดียวกับที่มีการอภิปรายไม่ได้
- คะแนนเสียงในการลงมติไม่ไว้วางใจ ต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งถึงจะมีผลให้รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง
อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
1. อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ
และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
- การให้ความเห็นชอบที่เกี่ยวกับสถาบันประมุขของประเทศ เช่น
- การให้ความเห็นชอบในการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- การใช้ความเห็นชอบในการสืบสันตติวงศ์ - การให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญาที่ทำกับประเทศอื่น
- การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
- การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรมการชุดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
» พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
» บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
» นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
» วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
» รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
» วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย