ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

เล่มที่ ๙

ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์

๑๒.โลหิจจสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์

พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จแวะพัก ณ ตำบลบ้านชื่อสาลวติกา ซึ่งพระเจ้าปเสนทโกศลพระราชทานให้โลหิจจพราหมณ์ครอบครอง.

ทรงแก้ความเห็ยผิด

สมัยนั้น โลหิจจพราหมณ์มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้บรรลุกุศลธรรมแล้วไม่พึงบอกแก่ผู้อื่น เพราะคนอื่นจะทำอะไรแก่อีกคนหนึ่งได้ การบอกแก่คนอื่น จัดว่าเป็นความโลภ ( ความอยากได้ ) ที่เป็นบาปอันหนึ่ง เปรียบเหมือนคนตัดเครื่องพันธนาการเก่าออกแล้ว กลับทำเครื่องพันธนาการใหม่ ( ให้แก่ตัวเอง ) อีก

โลหิจจพราหมณ์ได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงตำบลบ้านชื่อสาลวติกา จึงใช้ช่างกัลบก ชื่อโรสิกะ ให้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาฉันในวันรุ่งขึ้น.

รุ่งขึ้นเมื่อเสด็จไปฉันเสร็จแล้ว ก็ได้ทรงโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ถึงเรื่องความเห็นผิดนั้น ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่า โลหิจจพราหมณ์ซึ่งครอบครองตำบลบ้านสาลวติกาก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งทรงครอบครองแคว้นโกศลก็ตาม ถ้าบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ปปกครองแต่ผู้เดียว ไม่ยอมแบ่งปันให้ผู้ใดเลยดังนี้ คนที่จะแสดงความคิดเห็นไม่ให้แบ่งปันแก่ผู้อื่นอย่างนี้ จะเชื่อว่าทำอันตรายแก่ผู้ที่ ( เป็นข้าทาสบริวาร ) อาศัยอยู่หรือไม่ โลหิจจพราหมณ์ยอมรับว่าเป็นการทำอันตรายแก่คนเหล่านั้น ( เพราะเมื่อไม่ได้รับส่วนแบ่ง เช่น อาหาร เป็นต้น คนเหล่านั้นก็อยู่ไม่ได้ ) ตรัสถามต่อไปว่า จะเป็นการตั้งเมตตาจิต คิดจะอนุเคราะห์คนเหล่านั้น หรือว่าเป็นศัตรู. กราบทูลตอบว่า เป็นศัตรู. ตรัสถามต่อไปว่า เมื่อตั้งจิตเป็นศัตรูจะเชื่อว่ามีความเห็นผิดหรือเห็นชอบ พราหมณ์กราบทูลถามว่า เป็นการเห็นผิด. ( อันนี้เป็นการต้อนให้พราหมณ์นั้นยอมรับว่าตนมีความเห็นผิด เพราะจำนนต่อเหตุผล).

จึงทรงเปรียบเทียบให้ฟังต่อไปว่า การกล่าวว่า ผู้ครอบครองบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่ผู้เดียวไม่แบ่งปันแก่ใครเลย ก็เช่นเดียวกันการกล่าวว่า ผุ้บรรลุกุศลธรรมไม่ควรบอกแก่ใคร ๆ ซึ่งเป็นการทำอันตรายเป็นการตั้งจิตเป็นศัตรูต่อผู้ที่ควรจะได้รับ และเป็นการมีความเห็นผิด.

ศาสดา ๓ ประเภท

แล้วทรงแสดงถึงศาสดา ( ผู้สอนศาสนา ) ๓ ประเภทที่ควรโจทท้วง และคำโจทท้วงก็ถูกต้องตามธรรมคือ
๑. ศาสดาที่ออกบวชแล้ว ไม่ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะด้วยตนเอง ได้แต่แสดงธรรมสอนผู้อื่น ( ดีแต่สอนผู้อื่น ตนเองปฏิบัติไม่ได้ หรือไม่ได้ผล ) สาวกจึงไม่ตั้งใจฟัง พากันเลี่ยงหนี.
๒. ศาสดาที่ออกบวชแล้ว ไม่ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะด้วยตนเอง ได้แต่แสดงธรรมสอนผู้อื่น แต่สาวกตั้งใจฟังคำสั่งสอน ไม่พากันเลี่ยงหนี.
๓. ศาสดาที่ออกบวชแล้ว ไม่ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะและแสดงธรรมสั่งสอน แต่สาวกไม่ตั้งใจฟังคำสอน พากันเลี่ยงหนี.

ศาสดาที่ไม่ควรติ

โลหิจจพราหมณ์กราบทูลถามว่า ศาสดาที่ไม่ควรติมีในโลกหรือไม่ ตรัสตอบว่า มี คือศาสดามีคุณสมบัติสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งสาวกที่ออกบวชแล้วตั้งอยู่ในศีล ได้บรรลุฌานที่ ๑ ถึง ๔ และได้วิชชา ๘ ประการ (ตามที่กล่าวแล้วในสามัญญผลสูตร ) ศาสดาประเภทนี้ไม่ควรถูกติ ( เพราะสั่งสอนได้ผลสมบูรณ์ คือ ตนเองก็ได้บรรลุคุณธรรม สาวกก็ได้บรรลุคุณธรรม)

โลหิจจพราหมณ์กราทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
- พรหมชาลสูตร สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ
- สามัญญผล สูตรสูตรว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ
- อัมพัฏฐสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบอัมพัฏฐมาณพ
- โสณทัณฑ สูตรสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัฑะ
- กูฏทัตสูตร สูตรว่าด้วยกูฏทันตพราหมณ์ (พราหมณ์ฟันเขยิน)
- มหาลิสูตร สุตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าฉวีชื่อมหาลิ
- ชาลิยสูตร สุตรว่าด้วยข้อความที่ตรัสโต้ตอบชาลิปริพพาชก
- มหาสีหนาท สูตรสูตรว่าด้วยการลือสีหนาท
- โปฏฐปาทสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก
- สุภสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร
- เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ
- โลหิจจสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์
- เตวิชชสูตร ว่าด้วยไตรเวท


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย