ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

เล่มที่ ๙

ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์

๒. สามัญญผลสูตร สูตรว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงของหมอชีวก ใกล้กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่คืนวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ เดือน ๑๒ พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปเฝ้า ทูลถามถึงผลของดีของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน และตรัสเล่าว่า เคยไปถามครู . ทั้งหกมาแล้ว แต่ตอบไม่ตรงคำถาม เปรียบเหมือนถามถึงเรื่องมะม่วง แต่ไปตอบเรื่องขนุน . จึงต้องกลับ . พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นข้อ ๆ ดังนี้ -

๑. ผู้เคยเป็นทาสหรือกรรมกรของพระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อออกบวชประพฤติตนดีงามแล้ว จะทรงเรียกร้องให้กลับไปเป็นทาสหรือกรรมกรตามเดิมหรือไม่. พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสตอบว่า ไม่เรียกกลับ แต่จะแสดงความเคารพถวายปัจจัย ๔ และถวายความคุ้มครองอันเป็นธรรม. ตรัสสรุปว่า นี่เป็นผลของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน.

๒. คนทำนาของพระเจ้าอชาตศัตรุ เมื่อออกบวชประพฤติตนดีงามแล้ว จะทรงเรียกร้องให้กลับไปทำนาให้ตามเดิมหรือไม่ ตรัสตอบเหมือนข้อแรก จึงนับเป็นผลของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน.

๓. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ฟังธรรมเลื่อมใสแล้วออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ สมบรูณ์ด้วยศีล ( พรรณนาศีลอย่างเล็กน้อย อย่างกลาง อย่างใหญ่ เหมือนในพรหมชาลสูตร), สำรวมอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้บาปอกุศลเกิดขึ้นท่วมทับจิต, มีสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ ยินดีด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้, ออกป่าบำเพ็ญสมาธิ ละกิเลสที่เรียกว่านีวรณ์ ๕ เสียได้ จึงได้บรรลุฌานที่ ๑ นี้ก็เป็นผลของความเป็นสมณที่เห็นได้ในปัจจุบัน.

๔. ได้บรรลุฌานที่ ๒

๕. ได้บรรลุฌานที่ ๓

๖. ได้บรรลุฌานที่ ๔
( ความเป็นไปแห่งฌานทั่งสี่มีรายละเอียดอย่างไร. ได้แปลไว้แล้วในหน้า ๑๒๕ หมายเลข ๒ ถึง ๕ )

๗. น้อมจิตไปเพื่อเกิดความรู้เห็นด้วยปัญญา ( ญาณทัสสนะ) ว่า กายมีความแตกทำลายไปเป็นธรรมดา วิญญาณก็อาศัยและเนื่องในกายนี้ ( วิปัสสนาญาณ ญาณอันทำให้เห็นแจ้ง).

๘. นิรมิตร่างกายอื่นจากกายนี้ได้ ( มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ).

๙. แสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินน้ำ ดำดิน เป็นต้น ( อิทธิวิธิ)

๑๐. มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยของมุนษย์ธรรมดา (ทิพย์โสต).

๑๑. กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ( เจโตปริยญาณ).

๑๒. ระลึกชาติในอดีตได้ ( ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ).

๑๓. เห็นสัตว์อื่นตายเกิดด้วยตาทิพย์ ( เรียกว่าทิพย์จักษุ หรือจุตูปปาตญาณ คือญาณรู้ความตาย และความเกิดของสัตว์).

๑๔. รู้จักทำอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป ( อาสวักขยญาณ). ลำดับ

( เมื่อจะย่อผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบันทั้งสิบสี่ข้อนี้เป็นหมวด ๆ ก็อาจย่อได้ ๓ หมวด คือ

หมวดที่ ๑ ทำให้พ้นจากฐานะเดิม คือพ้นจากความเป็นทาส เป็นกรรมกร พ้นจากความเป็นชาวนา ได้รับการปฏิบัติด้วยดี แม้จากพระมหากษัตริย์ คือผลข้อ ๑ กับข้อ ๒.

หมวดที่ ๒ เมื่ออบรมจิตใจจนเป็นสมาธิ ก็เป็นเหตุให้ได้ฌาน ที่ ๑ ถึง ๔ อันทำให้ละกิเลสอย่างกลางได้ คือผลข้อ ๓, ๔, ๕, และ ๖.

หมวดที่ ๓ ทำให้ได้วิชชา ๘ อันเริ่มแต่ข้อ ๗ ได้วิปัสสนาญาณ จนถึงข้อ ๑๔ ได้อาสวักขยญาณ).

พระเจ้าอชาตศัตรุทรงเลื่อมใส ปฏิญญาพระองค์เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วกราบทูลขอขมาในการที่ปลงพระชนม์พระราชบิดา ( คือพระเจ้าพิมพิสาร) ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ตรัสรับขมา.

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรุเสด็จกลับแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ถ้าพระเจ้าอชาตศัตรุไม่ปลงพระชนม์พระราชบิดา ก็จะได้ดวงตาเห็นธรรม ( เป็นพระโสดาบัน).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
- พรหมชาลสูตร สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ
- สามัญญผล สูตรสูตรว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ
- อัมพัฏฐสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบอัมพัฏฐมาณพ
- โสณทัณฑ สูตรสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัฑะ
- กูฏทัตสูตร สูตรว่าด้วยกูฏทันตพราหมณ์ (พราหมณ์ฟันเขยิน)
- มหาลิสูตร สุตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าฉวีชื่อมหาลิ
- ชาลิยสูตร สุตรว่าด้วยข้อความที่ตรัสโต้ตอบชาลิปริพพาชก
- มหาสีหนาท สูตรสูตรว่าด้วยการลือสีหนาท
- โปฏฐปาทสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก
- สุภสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร
- เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ
- โลหิจจสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์
- เตวิชชสูตร ว่าด้วยไตรเวท


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย