ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

เล่มที่ ๙

ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์

เป็นพระสุตตันตปิฎก(เล่ม ๑) หน้า ๑

ทีฆนิกาย แปลว่า “ หมวดหรือพวกขนาดยาว” ได้แก่พระสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่ยาว นำมาจัดไว้เป็นหมวดหรือพวกไว้ในที่นี้. คำว่า สีลขันธวัคค์ แปลว่า “ วรรคที่ว่าด้วยกองศีล” ทีฆนิกาย หรือหมวดยาวนี้มี ๓ วรรค คือสีลขันธวัคค์ (มี ๑๓ สูตร ) มหาวัคค์ ( มี ๑๐ สูตร) ปาฏิกวัคค์ ( มี ๑๑ สูตร) แต่ละวรรคตั้งชื่อตามข้อความในสูตรบ้าง ตามชื่อของสูตรบ้าง คือในสีลขันวัคค์ สูตรแรกมีเรื่องศีล จึงตั้งชื่อสีลขันธวัคค์ ในมหาวัคค์ สูตรแรก ชื่อมหาปทานสูตร จึงตั้งชื่อมหาวัคค์ ในปาฏิกวัคค์ สูตรแรก ชื่อปาฏิกสูตร จึงตั้งชื่อกปาฏิวัคค์. พระไตรปิฎก ทีฆนิกายนี้มี ๓ เล่ม เล่มละวรรค ตามชื่อที่กล่าวมาแล้ว รวมทั้งสิ้นมี ๓๔ สูตร.

พระสูตรในเล่ม ๘ หรือในทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์มี ๑๓ สูตร ตามลำดับดังต่อไปนี้-

๑. พรหมชาลสูตร สูตรที่เปรียบเหมือนข่ายอันประเสริฐที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง คือกล่าวถึงลัทธิ ศาสนาต่าง ๆ ที่มีในครั้งนั้น ที่เรียกว่าทิฎฐิ ๖๒ เป็นการชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนามีหลักธรรมแผกจาก ๖๒ ลัทธินั้นละเอียด.

๒ . สามัญญผลสูตร ว่าด้วย “ การของความเป็นสมณะ” หรือผลของการบวช.

๓. อัมพัฏฐสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับอัมพัฏฐมาณพ” มีข้อความกล่าวถึงประวัติศาสตร์ ศากยวงศ์.

๔. โสณทัณฑสุตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับโสณทัณฑพราหมณ์ ” มีข้อความกล่าวถึงคุณลักษณะ ๕ อย่าง ของพราหมณ์.

๕ . กูฏทันตสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับกูฏทันตพราหมณ์ ” เรื่องการบูชายัญ โดยวิธีสังเคราะห์ดีกว่าการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตวฺ รวมทั้งปัญหาการปกตครองประเทศ ให้ได้ผลางเศรษฐกิจ ลดจำนวนโจรผู้ร้าย.

๖. มหาลิสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับเจ้าลิจฉวีชื่อมหาลิ” เรื่องตาทิพย์ หูทิพย์ และความสามารถที่สูงขึ้นไปกว่านั้น คือการทำกิเลสอาสวะให้กมดไป.

๗. ชาลิยะสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับนักบวช ๒ คน คนหนึ่งชื่อชาลิยะ ” เรื่องชีวะ กับสรีระ.

๘ . มหาสีหนาทสูตร . ว่าด้วย “ การบรรลือสีหนาท ” ของพระพุทธเจ้าโดยมีคุณธรรมเป็นพื้นรองรับ

๙ โปฏฐปาทสูตร ว่าด้วย “การโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก ” เรื่องอัตตาและธรรมะชั้นสูงอื่น ๆ .

๑๐ สุภสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบระหว่างพระอานนทเถระกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร”

๑๑. เกวัฏฏสูตร ว่าด้วย “ การแสดงธรรม” เรื่องปาฏิหารย์ ๓ แก่คฤหบดี ชื่อเกวัฏฏะ.

๑๒. โลหิจจสูตร ว่าด้วย “การโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ ” ถึงเรื่องมิจฉาทิฏฐิและศาสดาที่ควรติไม่ควรติ.

๑๓. เตวิชชสูตร ว่าด้วย “พราหมณ์ผู้รู้ไตรวิทยาเคยเห็นพระพรหมหรือไม่ ” และว่าด้วยวิธีเข้าอยู่ร่วมกับพระพรหม. ขยายความ

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
- พรหมชาลสูตร สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ
- สามัญญผล สูตรสูตรว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ
- อัมพัฏฐสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบอัมพัฏฐมาณพ
- โสณทัณฑ สูตรสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัฑะ
- กูฏทัตสูตร สูตรว่าด้วยกูฏทันตพราหมณ์ (พราหมณ์ฟันเขยิน)
- มหาลิสูตร สุตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าฉวีชื่อมหาลิ
- ชาลิยสูตร สุตรว่าด้วยข้อความที่ตรัสโต้ตอบชาลิปริพพาชก
- มหาสีหนาท สูตรสูตรว่าด้วยการลือสีหนาท
- โปฏฐปาทสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก
- สุภสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร
- เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ
- โลหิจจสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์
- เตวิชชสูตร ว่าด้วยไตรเวท


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย