ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

เล่มที่ ๙

ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์

๑๑. เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงของปาวาริกะ ใกล้เมืองนาฬันทา . ณ ที่นั้น บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะเข้าไปเฝ้า ขอให้ทรงชวนภิกษุผู้แสดงอิทธปาฏิหาริย์ได้ให้แสดง ก็จะมีคนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระองค์มิได้แสดงธรรมว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านจงแสดงอิทธปาฏิหาริย์แก่คฤหบดีผู้นุ่งผ้าขาว.

แม้ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ ก็ยังยืนยันจะให้ทรงชวนภิกษุผู้แสดงอิทธปาฏิหาริย์ได้ให้แสดง ก็จะมีคนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น.

พระผู้มีพระภาคจึงทรงชี้แจงว่า ปาฏิหาริย์ที่ทรงทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งด้วยพระองค์เองและประกาศแล้ว มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
๑ . อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์.
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจทายใจได้เป็นอัศจรรย์.
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ สั่งสอน ( มีเหตุผลดี ) เป็นอัศจรรย์.

แล้วทรงอธิบายวิธีแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ และสรุปในที่สุดว่า คนที่ไม่มีความเชื่อความเลื่อมใสก็อาจกล่าวได้ว่า ภิกษุที่แสดงฤทธิ์ได้นั้น เพราะมีคันธารวิชา ( วิชชาของคันธาระ).

อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจทายใจของคนได้ คนที่ไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใส ก็อาจกล่าวได้ว่า ภิกษุที่ดักใจทายใจได้นั้น ก็เพราะมีมณีกาวิชา.

ครั้นแล้วทรงแสดงถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ ว่าควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร ตลอดจนการปฏิบัติได้ผลในศีล ๓ ประเภท ในฌาน ๔ ในวิชชา ๘ ( ดั่งกล่าวไว้แล้วในสมมัญญผลสูตร).

แล้วทรงเล่าถึงภิกษุรูปหนึ่งข้องใจในปัญหาที่ว่า ธาตุ ๔ เป็นต้น จะดับโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุรูปนั้นเที่ยวตระเวนถามเทวดาต่าง ๆ จนกระทั้งถึงท้าวมหาพรหมก็ตอบไม่ได้ ในที่สุดท้าวใหาพรหมขอให้มาถามพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสสอนเป็นใจความรวบยอดว่า ดับวิญญาณเสียได้ ธาตุ ๔ เป็นต้น ก็ดับไม่เหลือในที่นั้น. ( เป็นการแสดงว่าฤทธิ์ช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ แต่คำสั่งสอนสำคัญกว่า ) .

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
- พรหมชาลสูตร สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ
- สามัญญผล สูตรสูตรว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ
- อัมพัฏฐสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบอัมพัฏฐมาณพ
- โสณทัณฑ สูตรสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัฑะ
- กูฏทัตสูตร สูตรว่าด้วยกูฏทันตพราหมณ์ (พราหมณ์ฟันเขยิน)
- มหาลิสูตร สุตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าฉวีชื่อมหาลิ
- ชาลิยสูตร สุตรว่าด้วยข้อความที่ตรัสโต้ตอบชาลิปริพพาชก
- มหาสีหนาท สูตรสูตรว่าด้วยการลือสีหนาท
- โปฏฐปาทสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก
- สุภสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร
- เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ
- โลหิจจสูตร สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์
- เตวิชชสูตร ว่าด้วยไตรเวท


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย