สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ความหมายการเมืองการปกครอง
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง
ก่อนที่จะศึกษาความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง ควรจะได้ศึกษาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า อุดมการณ์ เสียก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาอุดมการณ์ทางการเมือง คำว่า อุดมการณ์ หมายถึง ระบบระเบียบ แนวความคิดที่คนยึดถือเป็นแบบฉบับในการดำเนินชีวิต กล่าวคืออุดมการณ์คือแนวความคิดที่ได้หล่อหลอมกล่อมเกลาอย่างดีมีระเบียบ จึงมิใช่ความคิดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ฉะนั้นอุดมการณ์ย่อมหมายถึง ค่านิยม ทัศนคติ ความดีงามหรือสิ่งอันควรปฏิบัติ แต่อุดมการณ์ที่ว่านี้ บุคคลแต่ละคนย่อมจะมีความแตกต่างกันไปอุดมการณ์เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของบุคคลที่มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่มีอุดมการณ์ย่อมจะปฏิบัติกิจการใด ๆ ได้บรรลุเป้าหมายได้มากกว่าผู้กระทำกิจการใด ๆ โดยปราศจากอุดมการณ์
ความหมายของอุดมการณ์ในทางวิชาการถือว่าอุดมการณ์เป็นทฤษฎีแห่งความคิดที่จะแยกต่างหากจากความรู้สึก แต่อุดมการณ์จะเริ่มต้นจากความรู้สึก (Sensation) แล้วเก็บไปนึก (Reflection) จนเกิดเป็นอุดมการณ์ขึ้น กระบวนการที่ก่อให้เกิดอุดมการณ์จะใช้กระบวนการหล่อหลอม (Moulding) จนมีความคิดอย่างถาวรและฝังแน่นอยู่ในจิตใจอิทธิพลแวดล้อมทางสังคมนั้นว่ามีความสำคัญต่อกระบวนการนี้มาก และยังม
อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของบุคคลในสังคมอีกด้วย
สำหรับความหมายของอุดมการณ์ทางการเมืองตามที่ศาสตราจารย์สมพงศ์ เกษมสิน
และศาสตราจารย์จรูญ สุภาพ ได้กล่าวไว้ว่า
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมืองนั้นสามารถแยกแยะออกได้เป็นหลายประการ เช่น
1. ถือว่า อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นความคิด ความเชื่อ ที่มีแบบแผนเกี่ยวกับหลักการและคุณค่าทางการเมือง ดังนั้นอุดมการณ์จึงมิได้เป็นความคิดที่เลื่อนลอยปราศจากหลักเกณฑ์ ตรงกันข้ามเป็นความคิด ความเชื่อที่มีแนวทางแน่นอน มีเหตุมีผล มีจุดหมายปลายทางและมีวัตถุประสงค์ที่มนุษย์พยายามจะดำเนินการให้สัมฤทธิผล
2. ความคิดความเชื่อนี้เกี่ยวกันกับการเมืองการปกครองหรือวิถีชีวิตทางการเมืองซึ่งจะกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในด้านการเมืองการปกครองให้ถูกต้องสมบูรณ์
3. ความคิดความเชื่อดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีผลทำให้เกิดความเชื่อฟังปฏิบัติตาม ซึ่งหมายถึงการยอมรับว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในอุดมการณ์ได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว หรือมีผลดีพอสมควรที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผล
4. ความคิดความเชื่อนั้นกลายเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดการเห็นพ้องต้องกันภายในรัฐ หมายความว่า อุดมการณ์มีอิทธิพลผลักดันให้มนุษย์ เห็นพ้องต้องกันในหลักการความมุ่งหมายกระบวนการ รวมทั้งผลของอุดมการณ์นั้นเมื่อนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังในสังคม
5. ความคิดความเชื่อนั้นจะทำให้เกิดกลไกในการควบคุมขึ้น หมายความว่า เมื่อนำอุดมการณ์มาประยุกต์ใช้กับสภาพที่แท้จริงของสังคมก็จะต้องกำหนดกลไกในการควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้อุดมการณ์ดำรงอยู่ได้ และอีกอย่างหนึ่งเพื่อว่ามนุษย์จะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการใช้อุดมการณ์นั้น เช่น อุดมการณ์ของลัทธิการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเชื่อว่าจุดหมายปลายทางคือ การทำลายชนชั้น เพราะชนชั้นก่อให้เกิดปัจจัยในการกดขี่ขูดรีดในสังคม เพื่อให้เป็นไปตามอุดมการณ์ดังกล่าวจึงมีกลไกควบคุมขึ้น คือ พรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนระบอบประชาธิปไตยได้มีอุดมการณ์ไปในทางเคารพสิทธิเสรีภาพผลประโยชน์ เหตุผลสติปัญญา และศรัทธาในความสามารถ มนุษย์จึงทำให้เกิดกระบวนการควบคุมขึ้นเพื่อให้มีพฤติกรรมทางการเมืองไปตามอุดมการณ์ของประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งโดยเสรีและการแสดงมติมหาชน เป็นต้น
จากความหมายของอุดมการณ์ทางการเมืองดังกล่าวนั้นจะเห็นว่าในสังคมทางการเมืองปัจจุบันนี้ อุดมการณ์มีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะมีผลผลักดันให้คนในชาติได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความคิดเชื่อมั่นในสิ่งเดียวกัน เมื่อคนในรัฐมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้วย่อมเป็นแรงผลักดันให้ประชาชนสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ เพราะอุดมการณ์เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์มีแนวพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. อุดมการณ์
เป็นแรงจูงใจที่เป็นเสมือนพลังผลักดันที่ทำให้เกิดการกระทำนานาประการในสังคม
2. อุดมการณ์ เป็นแรงดลใจให้มนุษย์เกิดการเชื่อฟัง
และในที่สุดก็จะนำไปสู่หน้าที่ความรับผิดชอบ
3. อุดมการณ์ เป็นลักษณะของความเชื่อถือมั่นที่มีความแน่นอนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งมีอิทธิพลในการสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปในแนวใดแนวหนึ่งได้
ความหมายและความสำคัญของการเมือง
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
สาระสำคัญของวิชารัฐศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง
ประเด็นสำคัญของอุดมการณ์ทางการเมือง
วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์