สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ความหมายการเมืองการปกครอง
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยังไม่มีการศึกษาถึงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์อย่างกว้างขวาง เป็นเพียงศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักไปในแง่ของศาสนา ปรัชญา ศีลธรรม ของมนุษย์ในสังคมเท่านั้น เมื่อเข้ามาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักปรัชญาทั้งหลายจึงได้รวบรวมเนื้อหาสาระและขอบข่ายของวิชารัฐศาสตร์ไว้มากขึ้นเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและในขณะเดียวกันวิชารัฐศาสตร์ก็เป็นแขนงวิชาหนึ่งในกลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Sciences) แต่วิชารัฐศาสตร์ก็ได้มีผู้ศึกษารวบรวมและพัฒนามาโดยลำดับ ซึ่งสามารถแบ่งยุคแห่งวิชารัฐศาสตร์ได้เป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคกรีกโบราณ (Ancient Greeks)
การศึกษาเรื่องรัฐและการเมืองนั้นได้เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คือ ประมาณ 500 ถึง 300 ปีก่อนคริสตกาล อาจเรียกปราชญ์เพลโต (Plato) ได้ว่าเป็นบิดาของวิชาทฤษฎีการเมือง และปราชญ์อริสโตเติล (Aristotle) ควรจะได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ ปราชญ์ทั้งสองท่านได้พิจารณารัฐในแง่คิดปรัชญา ซึ่งถือว่าความรู้ทุกอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด ยังมิได้แยกศึกษาวิชารัฐศาสตร์ออกมาโดยเฉพาะอย่างชัดเจน คือวิชาการนี้ยังรวมอยู่กับศาสตร์อื่น ๆ โดยเฉพาะปรัชญาศีลธรรมทางศาสนา เพราะความเชื่อของคนในยุคนั้นฝังแนบแน่นอยู่กับศาสนา จึงทำให้คำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อการเป็นอยู่ของคนในสังคม ความคิดที่จะพึ่งพาอาศัยผู้ปกครองจึงมีน้อย ซึ่งเป็นผลทำให้ขาดการรวบรวมเนื้อหาสาระของรัฐศาสตร์ขึ้นเป็นหมวดหมู่ของตนเองอย่างชัดเจนดังกล่าวแล้ว
2. ยุคโบราณโรมัน (Ancient Roman)
ในยุคนี้ได้มีนักปราชญ์หันมาสนใจศึกษาวิเคราะห์วิชารัฐศาสตร์อย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะหลักนิติศาสตร์และหลักในทางรัฐประศาสนศาสตร์ จึงทำให้จักรวรรดิโรมันได้ถ่ายทอดมรดกทางรัฐศาสตร์ อันได้แก่ความคิดในทางกฎหมาย หลักนิติศาสตร์ และหลักในทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้กับชาวโลก ส่วนนักปราชญ์คนสำคัญในยุคนี้คือ J. W. Burgess ผู้ได้หันมาศึกษาวิเคราะห์วิชารัฐศาสตร์อย่างแท้จริง แต่ยังจำกัดอยู่เพียงในวงแคบ ๆ เฉพาะในแบบที่ยึดตัวบทกฎหมายเป็นหลัก ต่อมาในระยะหลัง ๆ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าตำราทางรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนได้รู้สาระสำคัญต่าง ๆ คือ
1. เรื่องกฎหมาย
2. เรื่องรูปแบบโครงสร้างการปกครอง
3. เรื่องอำนาจของรัฐบาล รัฐสภาและศาล
4. เรื่องนโยบายเป้าหมายของการปกครองแต่ละรูปแบบ
3. ยุคกลาง (The Middle Ages)
ในยุคนี้ความสำคัญของรัฐหรือฝ่ายอาณาจักรลดน้อยลงกว่าฝ่ายศาสนจักร เพราะการปกครองยังแนบแน่นอยู่กับผู้นำทางศาสนา จึงทำให้ฝ่ายศาสนจักรเข้ามามีอิทธิพลต่อการออกระเบียบข้อบังคับ กำหนดนโยบายของรัฐ รวมทั้งการแต่งตั้งถอดถอนกษัตริย์หรือประมุขของรัฐ ทฤษฎีการเมือง (political Theory) ได้กลายเป็นสาขาหนึ่งของศาสนศาสตร์ (Theology) นอกจากนั้นศาสนายังมีอำนาจในการวินิจฉัยข้อโต้แย้งทางการเมืองโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาด้วยวิธีการรวบรวมข้อเท็จจริง (Empirical) และทางปฏิบัติแต่ประการใด
4. ยุคพื้นฟู (The Renaissance)
แนวความคิดความเชื่อของคนในยุคนี้พยายามที่จะลดอิทธิพลของฝ่ายศาสนจักร หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับรัฐมากกว่า เป็นต้นว่า ความมั่นคงของรัฐ ผลประโยชน์ของรัฐและเอกภาพของชาติ จึงทำให้ยุคนี้เกิดภาวะแห่งรัฐชาติ (National State) กลุ่มคนที่มีเชื้อชาติศาสนาต่าง ๆ ก็พยายามรวมตัวกันสร้างชาติขึ้นมาด้วยความรู้สึกนึกคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) การศึกษารัฐศาสตร์สมัยนี้เน้นศึกษาพฤติกรรมศาสตร์มากกว่าทฤษฎี โดยพยายามศึกษาค้นคว้าหาวิธีวิเคราะห์วิจัยทฤษฎีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ ส่วนนักปราชญ์คนสำคัญในยุคนี้มีหลายท่าน เช่น Wallas ได้ศึกษาข้อมูลเหตุจูงใจทางการเมือง Lasswel ศึกษาอิทธิพลที่กล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ทางการเมือง Lasswel ได้นำเทคนิคมาวิเคราะห์ศึกษาอิทธิพลของมนุษย์ต่อกิจกรรมทางการเมือง เป็นต้น
ความหมายและความสำคัญของการเมือง
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
สาระสำคัญของวิชารัฐศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง
ประเด็นสำคัญของอุดมการณ์ทางการเมือง
วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์