สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

อำนาจอธิปไตย

      เรื่องของอำนาจอธิปไตย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญในวิชารัฐศาสตร์ เป็นเรื่องหนึ่งที่นักรัฐศาสตร์ได้ให้ความสนใจ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ค่อนข้างจะกว้างขวางและเป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติกันมาจนปัจจุบัน

ได้มีท่านผู้รู้และนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ว่าอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดของรัฐเอกราช ที่ใช้ในการปกครองประเทศ

ไพศาล ชัยมงคล อธิบายว่าอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในทางการเมือง (Supreme Political Power)และไม่มีกฎหมายใดๆ มาจำกัดอำนาจอธิปไตยนี้ได้ บุคคลทุกคนรวมทั้งองค์การต่างๆ ภายในรัฐจะต้องยอมรับนับถือ และเชื่อฟังอำนาจเช่นว่านี้อย่างเคร่งครัดโดยเหตุที่อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด และรัฐเป็นเจ้าของอำนาจนี้ ฉะนั้นในทางนิตินัย รัฐจึงเป็นสถาบันที่ดำรงไว้ ซึ่งอำนาจสูงสุดอำนาจอธิปไตยย่อมไม่อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายใดๆ ได้ ถ้าหากว่าจะมีอำนาจใดมากำหนดขอบเขตของอำนาจอธิปไตย อำนาจที่มาจำกัดนั้นก็จะกลายเป็นอำนาจอธิปไตยไป

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อธิบายว่าอำนาจอธิปไตยนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ซึ่งทำให้รัฐมีอำนาจบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และมีอำนาจในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศ
ในทางรัฐศาสตร์ถือว่าอำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ในทางนิติศาสตร์ ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด ไม่ว่าในทางการเมือง การปกครองประเทศ หรือในทางใดก็ตาม คำว่าอำนาจอธิปไตยกับคำว่าอำนาจสูงสุด จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน

ความคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญยิ่งของวิชารัฐศาสตร์ปัจจุบัน เพราะอำนาจนี้เอง เป็นสิ่งที่ทำให้กฎหมายซึ่งตราขึ้นมีผลและมีอำนาจใช้บังคับและเป็นสิ่งที่กำหนดหลักการ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับนานาประเทศ

สรุปแล้ว อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ผู้ที่มีอำนาจนี้หรือผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการที่จะสั่งการ ดำเนินการหรือบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับที่กำหนดขึ้น และจะไม่มีอำนาจใดๆ ในรัฐอยู่เหนืออำนาจอธิปไตย ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย (ปี พ.ศ.2540) ได้กำหนดไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนจึงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และประชาชนก็จะมอบหมายให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง ทำงานแทนประชาชนทั้งประเทศ ถ้าเป็นงานด้านการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ภายในรัฐ เรียกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน ที่ประชาชนเลือกตั้งกลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ เข้าไปทำหน้าที่ ได้ชื่อว่ามีอำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่บุคคลกลุ่มนี้ กำหนดขึ้นมา ทุกคนต้องยอมรับต้องปฏิบัติตาม ถ้าเป็นงานทางด้านการปกครอง เราจะเรียกผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนกลุ่มนี้ว่ารัฐบาล ซึ่งจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการดำเนินกิจการ นำเจตนารมณ์ของปวงชนมาปฏิบัติ ใช้อำนาจบังคับ เพื่อให้เจตนารมณ์นั้นบังเกิดผล และในการที่ใช่อำนาจบังคับได้นี้ ก็โดยมีอำนาจอธิปไตยเป็นเครื่องมือสนับสนุน

ตามความหมายในวิชารัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น มีการแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็นอำนาจอธิปไตยภายในรัฐ และอำนาจอธิปไตยภายนอกรัฐ ข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจัดว่าเป็นอำนาจอธิปไตยภายในรัฐ คือเป็นอำนาจของรัฐที่จะออกกฎหมาย และบังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายแก่ทุกคนภายในรัฐ ส่วนอำนาจอธิปไตยภายนอกนั้น คืออำนาจที่จะดำเนินการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่น โดยอิสระเสรีปราศจากการควบคุมหรือแทรกแซงจากรัฐอื่น ซึ่งหมายถึงความเป็นเอกราชของรัฐนั่นเอง

     ตามที่กล่าวมาแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของรัฐประการหนึ่ง ความเป็นรัฐเอกราชจะแสดงออกด้วยอำนาจอธิปไตยนี้ เพราะอำนาจอธิปไตยคืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แม้ว่าอำนาจอธิปไตยจะเป็นลักษณะของนามธรรม คือ ไม่ให้เขียนไว้ว่า อำนาจอธิปไตยมีรูปร่างเป็นอย่างไร ไม่สามารถจะสัมผัสได้แต่ทุกประเทศไม่ว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหรือประเทศที่ปกครองในระบอบเผด็จการก็ตาม ได้ยอมรับว่า อำนาจอธิปไตยคืออำนาจสูงสุดของการปกครองประเทศ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นเรื่องรองรับความสมบูรณ์ของรัฐ ความสมบูรณ์ของกฎหมายและกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งหลายทั้งปวง นอกจากนั้นอำนาจอธิปไตยยังถือว่าเป็นรากฐานของวิชารัฐศาสตร์สมัยใหม่อีกด้วย

ประวัติแนวความคิดของอำนาจอธิปไตย
ความหมายของอำนาจอธิปไตย
ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
ประเภทของอำนาจอธิปไตย
การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน
วิวัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย
ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย
ทฤษฎีที่ค้านลักษณะอำนาจอธิปไตย
ประเภทของอำนาจอธิปไตย
การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน
สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย
สถาบันของอำนาจนิติบัญญัติ (Legislature)
อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติหรือรัฐสภา
โครงร่างของสภานิติบัญญัติ (Structure)
ลักษณะทั่วๆ ไปของสภาสูง
อำนาจหน้าที่ของสภาสูง
ลักษณะทั่วๆ ไปของสภาล่าง
สถาบันของอำนาจบริหาร (Executive)
ข้อดีของรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร (Functions)
สถาบันของอำนาจตุลาการ ( Judicial )

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย