สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ความหมายการเมืองการปกครอง
ประเด็นสำคัญของอุดมการณ์ทางการเมือง
เมื่อต้องการจะศึกษาอุดมการณ์ทางการเมืองให้เข้าใจยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วมักจะทำการศึกษาในประเด็นสำคัญ 4 ประการ คือ
1. แหล่งที่มาของอุดมการณ์
2. การกระจายตัวของอุดมการณ์
3. อิทธิพลของอุดมการณ์ที่มีต่อโครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง
4. การขัดกันแห่งอุดมการณ์
1. แหล่งที่มาของอุดมการณ์
อาจกล่าวได้ว่าอุดมการณ์มีแหล่งที่มาหลายทาง แต่ที่นับว่าสำคัญ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลในทางความคิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น ๆ บุคคลดังกล่าวนี้อาจจะเป็นนักปราชญ์ทางการเมือง หรือผู้นำประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการปกครองเมื่อบุคคลอื่นเชื่อศรัทธาในแนวความคิด แล้วก็จะก่อให้เกิดความเชื่อฟังและปฏิบัติตาม
2. การกระจายตัวของอุดมการณ์
อุดมการณ์เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะมีการกระจายตัวจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง จากชนกลุ่มหนึ่งไปสู่ชนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง วิธีการกระจายตัวอาจจะเป็นไปในลักษณะการบังคับ การขู่เข็นคุกคาม และการปลูกฝังให้เชื่อ
3. อิทธิพลของอุดมการณ์ที่มีต่อโครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง
อุดมการณ์ที่มีอิทธิพลบังคับได้ด้วย กล่าวคือเมื่อบุคคลมีอุดมการณ์แล้วก็จะบีบบังคับให้การแสดงพฤติกรรมออกมาตามแนวทางของอุดมการณ์นั้น เช่น อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เชื่อว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจการปกครองเป็นประชาชนปกครองโดยประชาชนปกครองโดยประชาชนและเพื่อประชาชน จะแสดงออกโดยการจัดให้มีการเลือกตั้งการออกเสียงประชามติ หรือให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การรวมกลุ่มและให้ประชาชนมีอำนาจเปลี่ยนรัฐบาลได้ เป็นต้น
4. การขัดกันแห่งอุดมการณ์
ด้วยเหตุที่อุดมการณ์มีทั้งประเภทที่มีวัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางเหมือนกันและต่างกัน
โอกาสที่จะขัดแย้งจึงมีมาก
เนื่องจากอุดมการณ์นั้นเมื่อนำไปใช้ก็จะเปลี่ยนรูปจากความคิด
ความเชื่อไปเป็นการปฏิบัติ ซึ่งทำให้มองเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ความขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นถึงกับทำให้โลกแบ่งออกเป็นสองค่าย
คือ ค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายโลกเสรี
ทั้งสองค่ายต่างก็ต่างสู้เพื่อบรรลุอุดมการณ์ของตนและแม้ทั้งสองค่ายนี้ในค่ายเดียวกันย่อมจะมีหลักในการต่อสู้เพื่อขยายอุดมการณ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปอีก
เช่น ค่ายคอมมิวนิสต์จีนตามแนวความคิดของเมา
แนวทางการขยายอุดมการณ์เป็นไปในลักษณะที่รุนแรง
ส่วนคอมมิวนิสต์โซเวียตเป็นไปในลักษณะการให้ความช่วยเหลือ
และการสร้างค่านิยมให้กับตนโดยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ความหมายและความสำคัญของการเมือง
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
สาระสำคัญของวิชารัฐศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง
ประเด็นสำคัญของอุดมการณ์ทางการเมือง
วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์