สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

ความหมายการเมืองการปกครอง

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น

ศาสตร์ในสังคมศาสตร์ประกอบด้วยศาสตร์ต่างๆ หลายแขนง ซึ่งรัฐศาสตร์ก็เป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ และการศึกษารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับรัฐลักษณะ หลักเกณฑ์ และวิชาการปกครองของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ จึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นๆมากมาย คือ

1.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ให้หลักฐาน และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งนักรัฐศาสตร์สามารถใช้เป็นรากฐาน ในการวิเคราะห์หาแนวโน้มองเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ จะทำให้นักรัฐศาสตร์เข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหาของบ้านเมือง

2.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การใช้ทรัพยากร การจำหน่ายจ่ายแจก การแบ่งสันปันส่วน การบริโภค ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยทั่วไป การปกครองประเทศจำเป็นต้องนำเอาวิชาเศรษฐศาสตร์มากำหนดนโยบายทางการเมืองด้วยการศึกษาวิชารัฐศาสตร์จะได้ผลดีเมื่อสามารถเข้าใจลักษณะและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

3.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์

สภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น ลักษณะพรมแดน ที่ตั้ง ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ลักษณะของทรัพยากร เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของประเทศ เช่น การกำหนดนโยบายทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ การจะเข้าใจปัญหาทางการเมืองของประเทศใด จำเป็นต้องศึกษาปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ด้วย

4.ความสัมพันธ์ระหว่างวิชารัฐศาสตร์กับสังคมวิทยา

สังคมวิทยาเป็นการศึกษาถึงสภาพสังคม ในด้านโครงสร้าง ปัญหา การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของมนุษย์ วิชารัฐศาสตร์ต้องเกี่ยวพันกับสังคมมนุษย์ การเข้าใจ ลักษณะทางการเมือง หรือปัญหาทางการเมือง จำต้องนำหลักของสังคมวิทยา มาประกอบการพิจารณาด้วย

5.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับจิตวิทยา

การปกครองจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับประชาชน ความเจริญหรือความมั่นคงทางการเมืองขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประชาชน การศึกษาทางด้านจิตวิทยา ที่ศึกษาถึงจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรมของมนุษย์จึงเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้มีการกำหนดนโยบาย ทางการเมืองที่เหมาะสมได้

6.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับจริยธรรม

จริยธรรมเกี่ยวข้องกับคุณธรรมและศีลธรรม วิชารัฐศาสตร์ต้องอาศัยหลักจริยธรรมอย่างมาก เพราะการปกครองจะได้ผลดีหรือไม่อยู่ที่จริยธรรมของผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง การดำเนินงานทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเมืองในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ หากอยู่ในหลักของจริยธรรมแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมาก

7.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์

วิชากฎหมาย เป็นเรื่องของกฎหมายข้อบังคับที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐ ที่จะทำให้รัฐสามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ทางการเมืองการปกครองไปได้อย่างเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ กล่าวได้ว่าความมั่นคงของทางการเมืองนั้น เกี่ยวกับกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ

จากสาระสำคัญของวิชารัฐศาสตร์ข้างบนนั้นจะเห็นได้ว่า วิชารัฐศาสตร์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างกว้างขวางโดยลำดับ และเป็นไปตามสถานการณ์ของโลกแต่ละสมัย ซึ่งเดิมทีเดียวนั้นนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้อนุชนได้ศึกษาเพียงประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองเท่านั้น แต่เมื่อสังคมมนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแคบ ๆ คือเริ่มจากสังคมของวงศาคณาญาติมาเป็นรัฐชาติอย่างในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอยู่เองที่นักปราชญ์ทางการเมืองจะต้องพัฒนาวิเคราะห์ปัจจัยประยุกต์วิชาการเมืองให้เท่าทันต่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เพื่อที่จะให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจในด้านการเมืองอย่างกว้างขวาง และผู้สนใจศึกษาสามารถที่จะเลือกเรียนแขนงวิชารัฐศาสตร์ตามที่ตนต้องการและถนัดได้ จึงนับว่าเป็นความก้าวหน้าของวิชารัฐศาสตร์

ความหมายและความสำคัญของการเมือง
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
สาระสำคัญของวิชารัฐศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง
ประเด็นสำคัญของอุดมการณ์ทางการเมือง
วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย