สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

ความหมายการเมืองการปกครอง

วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์

การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ อาจแบ่งเป็น 3 แนวทาง

1. แนวการศึกษาแบบดั้งเดิม จะเน้นวิชาปรัชญาการเมือง กฎหมาย และสถาบันการเมืองการปกครองของรัฐ โดยผู้ศึกษาจะศึกษาในรูปของการค้นหากฎทางการเมือง และข้อเท็จจริงทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองและแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าให้แก่สังคม

2. แนวการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาโดยหวังที่จะปรับปรุงวิธีการศึกษาให้ทันสมัย โดยอาศัยความรู้ของศาสตร์สาขาอื่นมาประกอบ และใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคล หรือกลุ่มคนเพื่อรวบรวมความรู้ต่างๆเหล่านี้มาใช้ สร้างทฤษฎี หรือเป็นแบบในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆ

3. แนวการศึกษาแบบผสมผสาน ซึ่งเน้นการนผสมผสาน การศึกษารัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม กับแนวการศึกษารัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อแสวงหาระบบการเมืองที่ให้ประโยชน์ สูงสุดแก่สังคม และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม อันเป็นแนวทางในการศึกษารัฐศาสตร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

     การศึกษาเรื่องของรัฐศาสตร์ การเมือง และการปกครอง มีมานานแล้วนับพันปีตั้งแต่มนุษย์ได้รวมตัวกันขึ้นมาเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน แว่นแคว้น เป็นรัฐและเป็นประเทศชาติขึ้นมา การศึกษามนเรื่องทางการเมืองการปกครอง หรือทางด้านรัฐศาสตร์เหล่านี้ ได้กระทำสืบเนื่องกันเรื่อยมา นับตั้งแต่สมัยกรีกจนเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาอย่างจริงจัง และเป็นจุด เริ่มต้นของความก้าวหน้าทางรัฐศาสตร์ โดยมีทั้งข้อคิดและข้อเขียนต่างๆมากมาย ที่จัดทำไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งนักคิดนักเขียน นักปราชญ์ ของกรีก อาทิเช่น โสเครตีส พลาโต อริสโตเติล บรรดาท่านเหล่านี้ในวงการทางรัฐ ต่างรู้จัก และให้ความยกย่องในความเป็นนักปราชญ์ ทางรัฐศาสตร์ การเมืองและการปกครอง แม้ในปัจจุบันก็ยังคงได้รับการกล่าวขวัญถึง ทั้งยังนำแนวคิดของท่านเหล่านี้มาอ้างอิง พร้อมทั้งศึกษาเพิ่มเติม ติดต่อกันเรื่อยมา ถึงแม้ในบางครั้งบางเวลา การศึกษาด้านรัฐศาสตร์อาจจะสะดุด หยุดชะงักไปบ้างเนื่องจากอำนาจวาสนา แต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ต่อมารัฐศาสตร์ก็ได้รับการรื้อฟื้น ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้ก้าวหน้า ยิ่งขึ้นไป และยังได้อาศัยความ รู้ จากสาขาวิชาอื่นๆ รวมทั้งปัจจัยหลายด้านมาประกอบกัน เพื่อพัฒนาวิธีการศึกษา ให้กว้างขวางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิผล ในความเป็นอยู่ของชนส่วนรวม และความก้าวหน้าของประเทศชาติ

นอกจากนี้เรื่องของรัฐศาสตร์และการเมือง ยังมีขอบข่ายที่กว้างขวางและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิชาต่างๆหลากหลาย กับมีศัพท์ต่างๆทางด้านนี้เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งศัพท์แต่ละคำแต่ละเรื่องสามารถทำการศึกษาและแตกแขนงออกไป อันทำให้วิชารัฐศาสตร์มีความสำคัญและเป็นประโยชน์สร้างความเจริญต่อวงการศึกษาและต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติอีกด้วย รวมทั้งแนวคิดที่จะปฏิรูปการเมืองการปกครองให้พัฒนาก้าวหน้า

ความหมายและความสำคัญของการเมือง
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
สาระสำคัญของวิชารัฐศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมือง
ประเด็นสำคัญของอุดมการณ์ทางการเมือง
วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย