วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.

การเก็บเกี่ยว

ใช้แรงงานคนหักฝักข้าวโพด และมีการพัฒนาใช้เครื่องจักรกลเก็บเกี่ยวในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ของประเทศไทย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีอายุเก็บเกี่ยว 50-60 วัน หลังจากแทงช่อดอก โดยช่อดอกเพศเมียจะเริ่มเจริญโผล่ให้เห็นทางซอกใบ เมื่ออายุ 60-70 วัน และช่อดอกเพศผู้เจริญโผล่ให้เห็นที่ส่วนยอดของลำต้นเมื่ออายุ 50-60 วัน ข้าวโพดบางสายพันธุ์มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 90 วันหลังปลูก บางสายพันธุ์อาจยาวนานถึง 200 วัน ส่วนข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดรับประทานฝักสดมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของข้าวโพดด้วย

ในการเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดที่แก่จัด จะกระทำเมื่อใบข้าวโพดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เปลือกหุ้มฝักเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีลักษณะแห้ง ผิวเมล็ดมีลักษณะใส ในช่วงฤดูแล้งอาจปล่อยฝักข้าวโพดทิ้งไว้บนต้นเพื่อเป็นการลดความชื้นของเมล็ด (ภาพที่ 4.41) โดยการตากแดดให้มีความชื้นของเมล็ดเหลือ 15-20 % ก่อนทำการเก็บเกี่ยว อาจเก็บเกี่ยวเฉพาะฝักข้าวโพด หรือเก็บทั้งเปลือกนอกที่หุ้มฝักข้าวโพดก็ได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะนำส่วนของฝักมาผูกติดกัน แล้วตากเมล็ดให้แห้งในโรงเรือนต่อไป

การนวดเมล็ดออกจากฝักทำได้โดยใช้มือคนแกะเมล็ดข้าวโพดออกมา หรือใช้เครื่องจักรนวดเมล็ดออกจากฝัก จากนั้นนำไปตากแห้งอีก 2-3 วัน เพื่อลดระดับความชื้นของเมล็ดลงมาให้เหลือ 12-13 % ก่อนนำไปบรรจุในถุงผ้า กระสอบ กระป๋อง หรือตะกร้า แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในโรงเรือน (Koopmans et al., 1996)


ภาพแปลงปลูกข้าวโพด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2535)

 


ภาพต้นข้าวโพดที่เจริญเติบโตเต็มที่


ภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้ว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวโพด
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว
การส่งออก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย