วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง
ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
นิเวศวิทยา
- ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ที่เส้นรุ้ง 53 องศาเหนือ ทางตอนเหนือของประเทศจีนจนกระทั่งถึงเส้นรุ้ง 35 องศาใต้ ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ของประเทศออสเตรเลีย
- ข้าวท้องถิ่นมักเป็นข้าวที่ไวต่อแสงต้องได้รับช่วงวันสั้นจึงจะมีการออกดอก แต่ข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่มักเป็นข้าวที่ไม่ไวแสง ช่วงวันวิกฤติของข้าวที่ไวแสงประมาณ 12.5-14 ชั่วโมง
- ข้าวจะให้ผลผลิตสูงเมื่อได้รับแสงแดดจัดเต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่าเมล็ดข้าวที่เจริญในช่วงฤดูแล้งมีปริมาณผลผลิตสูงกว่าในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 20-38 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส มีผลให้ดอกย่อยของข้าวเป็นหมันได้ นอกจากนี้อุณหภูมิต่ำทำให้เมล็ดข้าวมีความงอกต่ำ ต้นกล้าตาย ใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง การแตกกอน้อย ช่อดอกย่อยเหี่ยวลีบ มีความเป็นหมันสูง ต้นเตี้ยแคระให้ผลผลิตเมล็ดข้าวต่ำ
ความอุดมสมบูรณ์ของดินและอุณหภูมิของน้ำที่ท่วมในนาข้าว มีผลต่อปริมาณธาตุอาหาร การเติบโตและปริมาณผลผลิตของข้าวด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการออกดอกการบานของดอก และการถ่ายเรณูอยู่ที่ระดับสูงกว่า 21 องศาเซลเซียส
ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวมีตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินโคลนมีปริมาณอินทรียสาร
1-50 เปอร์เซ็นต์ ค่า pH ตั้งแต่ 3-10 เกลือ 0-1 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณแร่ธาตุต่างๆ
อยู่ในระดับต่ำมากจนถึงสูงมากได้
ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงส่งผลให้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของข้าวพันธุ์เดียวกันต่างกันไปด้วย
ปริมาณน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดการเติบโตของข้าว
ข้าวซึ่งปลูกบนที่ดอนต้องการน้ำฝนอย่างน้อย 750 มิลลิเมตร
ตลอดระยะเวลาของการเติบโตในช่วง 3-4 เดือน และไม่ทนทานต่อการถูกน้ำท่วมขัง
ขณะที่ข้าวซึ่งปลูกในที่ลุ่ม ต้องอยู่ในสภาพที่ได้รับน้ำท่วมขังอยู่ตลอดเวลา
จึงนิยมปลูกกันในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำและบริเวณปากแม่น้ำ
บริเวณน้ำที่ข้าวเหล่านี้ต้องการประมาณ 1,200 มิลลิเมตรต่อหนึ่งฤดูกาล
ข้าวมีการเจริญเติบโตในสภาพที่มีความชื้นในดินและในอากาศสูง
สามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ราบระดับน้ำทะเล จนกระทั่งบนยอดเขาสูงระดับ 1,230 เมตร
ในประเทศฟิลิปปินส์ และ 2,300 เมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย
โดยพบว่าระดับความสูงของพื้นที่แทบไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว (Vergar and
De Datta, 1996)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าว
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว
การส่งออก