ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 8 ลัทธิเต๋า

3

8.2 ทีหลังต่อจากทีแรก

เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ในเวลาเดียวกับที่เหล่าจื้อและสานุศิษย์ของท่านได้พัฒนาโลกทัศน์ของตน คุณลักษณะสำคัญแห่งทัศนะแบบเต๋านั้นเป็นสิ่งที่สอนกันในกรีกเช่นเดียวกัน โดยบุคคลซึ่งคำสอนของเขาเป็นที่รู้จักเพียงบางส่วนและผู้ซึ่งถูกเข้าใจผิดตลอดมาจนปัจจุบัน ชาวเต๋าแห่งกรีกผู้นี้ก็คือ เฮราคลิตัสแห่งเอเฟซัส เฮราคลิตัสมีทัศนะคติเช่นเดียวกับเหล่าจื้อ ไม่เพียงแต่เน้นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเขาแสดงออกในประโยคซึ่งมีชื่อเสียงว่า “ ทุกสิ่งเลื่อนไหล ” เท่านั้น แต่ยังมีทัศนะที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งมวลมีลักษณะเป็นวงเวียน เขาเปรียบเทียบโองการแห่ง “ ดวงไฟอันนิรันดร บางครั้งลุกโพลง และบางครั้งมอดลง ” ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดของจีนในเรื่องเต๋า ซึ่งแสดงตัวมันเองออกมาในการขับเคี่ยวในลักษญะวงเวียนระหว่างหยินกับหยาง ความคิดที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นการขับเคี่ยวระหว่างสิ่งที่ตรงกันข้ามได้นำเฮราคลิตัสกับเหลาจื้อมาสู่การค้นพบว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งมวลมีลักษณะเป็นขั้วตรงกันข้าม และในขณะเดียวกันก็เป็นเอกภาพ “ทางขึ้นและลงเป็นทางเดียวและเหมือนกัน” เฮราคริตัสกล่าว “ พระเจ้าคือ กลางวัน กลางคืน ฤดูหนาว ฤดูร้อน สงคราม สันติภาพ ความอิ่ม และความอดอยากหิวโหย ” เช่นเดียวกับผู้นับถือเต๋า เฮราคริตัสมีทัศนะว่าคู่ตรงข้ามทุกคู่เป็นเอกภาพ และเขาตระหนักดีถึงความเป็นสิ่งสัมพัทธ์ของความคิดเหล่านี้ทั้งหมด เขายังได้กล่าวไว้ว่า “ สิ่งที่เย็นกลับกลายเป็นอุ่น สิ่งที่อุ่นกลับเป็นเย็น สิ่งที่ชื้นกลับแห้ง สิ่งที่แห้งกลับเปียก ” นี้ได้ทำให้เรานึกถึงคำกล่าวของเหลาจื้อที่ว่า “ ง่ายทำให้เกิดยาก…เสียงก้องทำให้ไพเราะ ทีหลังต่อจากทีแรก ” เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่าความคล้ายคลึงกันอย่างมากในทัศนะของปราชญ์ทั้งสองแห่งศตวรรษที่หกก่อน คริสตกาลไม่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป

เฮราคริตัสมักจะถูกเอ่ยถึงเชื่อมโยงกับฟิสิกส์สมัยใหม่ แต่แทบจะไม่เคยเอ่ยถึงเฮราคริตัสกับเต๋าเลยและความเกี่ยวโยงกับเต๋านี้เองเป็นสิ่งที่แสดงได้อย่างดีที่สุดว่า ทัศนะของเฮราคริตัสแฝงในเชิงศาสนา จึงทำให้ความคล้ายคลึงระหว่างความคิดของเฮราคริตัสกับความคิดในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกันในทัศนะของข้าพเจ้า เมื่อเรากล่าวถึงความคิดของเต๋าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือ ต้องระลึกเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มิใช่เกิดจากแรงผลักดันภายนอก หากเป็นแนวโน้มภายในของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งมวล การเคลื่อนไหวของเต๋า ไม่มีตัวการผลักดันแต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดโดยธรรมชาติ ความเป็นไปเองของกฎแห่งการกระทำของเต๋า และในเมื่อการกระทำของมนุษย์ควรที่จะจำลองเอามาจากวิถีทางของเต๋า ความเป็นไปเองจึงควรเป็นลักษณะสำคัญของการกระทำทั้งมวลของมนุษยชาติ สำหรับเต๋าการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมชาติแท้ของบุคคลมันหมายถึงความเชื่อมั่นต่อปัญญาญาณของบุคคล ซึ่งเป็นเนื้อหาของใจมนุษย์เช่นเดียวกับที่กฏของการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อหาของสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา การกระทำของปราชญ์เต๋า จึงเกิดจากปัญญาญาณของท่านเป็นไปเองและสอดคล้องกับสภาพการณ์แวดล้อม ท่านไม่จำเป็นต้องบีบบังคับตนเองหรือสิ่งต่าง ๆ รอบกายท่าน เป็นแต่เพียงปรับการกระทำของท่านให้เข้ากับการเคลื่อนไหวของเต๋า ฮวยหนั่นจื้อกล่าวไว้ว่า ผู้ซึ่งกระทำตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ย่อมไหลไปในกระแสของเต๋า การกระทำในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกกันในปรัชญาเต๋าว่า อู่-วุ่ยมีความหมายตามพยัญชนะว่า “ไม่กระทำ” โจเซฟ นีดแฉม แปลความว่า “ละเว้นจากการกระทำที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ” เราอาจจะ เทียบความหมายนี้กับคำกล่าวของจวงจื้อ ดังนี้ การไม่กระทำนี้ มิได้หมายถึงการไม่ทำอะไรเลยและอยู่อย่างนิ่งเฉย หากเป็นการปล่อยให้ทุกสิ่ง ดำเนินไปตามที่มันเป็นในธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติของมันพึงพอใจ หากว่าเราละเว้นจากการกระทำที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ หรือดังที่โจเซฟ นีลแฮม กล่าวไว้ว่า จาก “ การดำเนินที่ขัดแย้งกับแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลาย ” เราก็จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับเต๋า ซึ่งจะได้รับความสำเร็จ นี่คือความหมายของคำกล่าวซึ่งดูจะเป็นปริศนาของเหลาจื้อที่ว่า “โดยการไม่กระทำ ทุกสิ่งก็สำเร็จลงได้”

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย