ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12
จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
จุดหมายสำคัญอันเป็นแกนกลางของศาสนาตะวันออกก็คือ การหยั่งรู้การที่ปรากฏทั้งมวลในโลกพิภพนี้เป็นสิ่งปรากฏแสดงของสัจธรรมสูงสุดประการเดียว สัจธรรมนี้ถือเป็นแก่นแท้ของจักรวาล รองรับและเอาสรรพสิ่งและเหตุการณ์อันหลากหลาย ซึ่งเราสังเกตเห็นได้นั้น อยู่ในเอกภาพอันหนึ่งอันเดียวกันฮินดูเรียกสิ่งนั้นว่า พรหมัน ชาวพุทธเรียกว่า ธรรมกาย (กายแห่งสัตตะ) หรือ ตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง) และเต๋า สำหรับผู้นับถือลัทธิเต๋า แต่ละฝ่ายล้วนยืนยันว่าสัจธรรมดังกล่าวอยู่เหนือความคิดนึก และท้าทายต่อคำอธิบายต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แก่นแท้อันเป็นปรมัตถ์นี้ มิอาจแยกออกจากสิ่งปรากฏแสดงอันหลากหลายของมัน แกนกลางแห่งธรรมชาติของสัจธรรมนั้นก็คือการปรากฏแสดงออกมาในรูปลักษณ์นับหมื่นแสน ซึ่งเกิดและสลายเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งอื่น ๆ โดยไม่รู้ที่สิ้นสุด ในแง่ปรากฏการณ์ของตัวมันเอง สัจแห่งเอกภพจึงเป็นสิ่งซึ่งทรงสภาพเคลื่อนไหวโดยเนื้อหา และการเข้าใจธรรมชาติแห่งการเคลื่อนไหวของเอกภพนับเป็นพื้นฐานของทุกสำนักนิกายของศาสนาตะวันออก
ดี.ที. สึซึกิ ได้เขียนเกี่ยวกับนิกายคีกอน (Kegon School) แห่งพุทธศาสนาแบบมหายานไว้ว่า ความคิดสำคัญอันเป็นแกนกลางของนิกายคีกอนก็คือการเข้าใจจักรวาลในเชิงเคลื่อนไหว จักรวาลซึ่งมีลักษณะสำคัญคือเคลื่อนที่อยู่เสมอ อยู่ในภาวะแห่งการณ์เคลื่อนไหวตลอดเวลา นั้นก็คือชีวิต การสอนเน้นอยู่ที่การเคลื่อนไหว เลื่อนไหล และเปลี่ยนแปลง มิใช่เป็นลักษณะสำคัญของคำสอนของศาสนาตะวันออกเท่านั้นหากยังเป็นแง่มุมสำคัญในโลกทัศน์ของผู้สนใจในความลึกซึ้งของชีวิตตลอดทุกยุคทุกสมัย ในกรีกโบราณเฮราคลิตัสสอนว่า ทุกสิ่งเลื่อนไหล และเปรียบโลกกับไฟซึ่งดำรงอยู่ตลอดเวลาในเม็กซิโก ดอน ฮวน อาจารย์แห่งเผ่ายาคีกล่าวถึง โลกซึ่งลอยตัว และยืนยันว่า การจะเป็นผู้รู้นั้น บุคคลต้องทำตนให้เบาและเลื่อนไหลได้ ในปรัชญาอินเดีย คำสำคัญที่ชาวฮินดูและชาวพุทธใช้มักมีความหมายในเชิงเคลื่อนไหว เช่นคำว่า พรหมัน มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า พฤห ( brih ) เจริญ ดังนั้น จึงแสดงความจริงซึ่งเคลื่อนไหวและมีชีวิตชีวา ราธะกฤษนันท์ ( Radhakrishnan ) กล่าวว่า คำว่าพรหมัน นั้นหมายถึงความเจริญเติบโต และมุ่งแสดงลักษณะแห่งชีวิต การเคลื่อนไหวและความก้าวหน้า คัมภีร์อุปนิษัท กล่าวถึง พรหมัน ว่าเป็น การเคลื่อนไหวอันไร้รูปลักษณ์และเป็นอมตะ ซึ่งก็สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวถึงแม้ว่าจะพ้นไปจากรูปลักษณ์ต่าง ๆ คัมภีร์ฤคเวท ใช้คำซึ่งแสดงลักษณะอันเคลื่อนไหวของจักรวาลว่า ฤตา ( Rita ) คำ ๆ นี้มาจากศัพท์ว่า ฤ (ri ) เคลื่อนไหว ความหมายเดิมของคัมภีร์ฤคเวทคือ วิถีแห่งสรรพสิ่ง หรือ โองการของธรรมชาติ โองการแห่งธรรมชาติในความหมายของผู้รจนาคัมภีร์พระเวทนั้นมิใช่กฏเกณฑ์อันหยุดนิ่งตายตัว แต่เป็นหลักการอันเคลื่อนไหวซึ่งสืบสายมาในจักรวาล ความคิดนี้เหมือนกับความคิดของจีนเรื่อง เต๋า ทาง วิถีทางซึ่งจักรวาลกระทำการ นั่นคือ โองการของธรรมชาติเช่นเดียวกับผู้รจนาคัมภีร์ นักปราชญ์จีนเห็นว่าโลกมีลักษณะเลื่อนไหลและเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงให้ความหมายของกฎเกณฑ์แห่งเอกภพในเชิงเคลื่อนไหวทั้งสองแนวคิด คือ ฤตา และ เต๋า ได้ถูกลดระดับลงมาจากระดับของเอกภพในความหมายเดิมสู่ระดับของมนุษย์ในเวลาต่อมา และถูกตีความในแง่ศีลธรรม ฤตาเป็นกฎของจักรวาลซึ่งเทพและมนุษย์ทั้งมวลจะต้องปฏิบัติตาม และเต๋าเป็นวิถีดำเนินแห่งชีวิตที่ถูกต้อง
หน้าถัดไป >>