ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 6 พุทธศาสนา

เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่พุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของเอเชียส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศในอินโดจีน ศรีลังกา เนปาล ธิเบต จีน เกาหลีและญี่ปุ่น เช่นเดียวกับศาสนาฮินดูในอินเดีย พุทธศาสนามีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตในทางสติปัญญาวัฒนธรรม และศิลปะของประเทศเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่แตกต่างไปจาก ฮินดู ก็คือ พุทธศาสนาเริ่มต้นจากเจ้าชายสิทธัตถะโคตมะ ผู้เป็นพระพุทธเจ้า “ในประวัติศาสตร์” เพียงพระองค์เดียว

พระองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ในอินเดียในตอนกลางของศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นยุคสมัยที่อัจฉริยะในทางจิตวิญญาณและปรัชญาเกิดขึ้นมากมายดังเช่น ขงจื๊อ และเหลาจื๊อในจีน ซาราธุสตระในเปอร์เซีย ปิทากอรัสและเฮราคลิตัสในกรีก ถ้าหากว่ากลิ่นอายของศาสนาฮินดูได้แก่เรื่องราวของ เทพและพิธีกรรมต่าง ๆ กลิ่นอายของพุทธศาสนาก็คือ จิตวิทยา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสนพระทัยที่จะสนองตอบความใคร่รู้ของมนุษย์เกี่ยวกับกำเนิดของโลก ธรรมชาติของพระเจ้า หรือปัญหาในทำนองเดียวกันนี้ พระองค์ทรงมุ่งแก้ไขสภาพของมนุษย์ซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์และความผิดหวัง ดังนั้น คำสอนของพระองค์จึงมิใช่คำสอนทางอภิปรัชญา แต่เป็นคำสอนเชิงจิตบำบัด พระองค์ทรงแสดงเหตุของความทุกข์และวิธีที่จะเอาชนะมัน โดยทรงนำเอาคำในวัฒนธรรมของอินเดีย เช่น มายา กรรม นิพพาน และอื่น ๆ มาใช้ โดยให้ความหมายใหม่ในเชิงจิตวิทยา

หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย