ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์
บทที่ 3 พ้นภาษา
ข้อขัดแย้งซึ่งสร้างความงงงวยให้กับวิธีคิดอย่างสามัญเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงว่า เราจำต้องใช้ภาษาเป็นสื่อในการแสดงประสบการณ์ภายในของเรา ซึ่งเนื้อหาเป็นสิ่งที่อยู่นอกขอบเขตของภาษา ดี.ที.สีซึกิ ภาษาที่จะใช้ในสถานการณ์เช่นนี้เป็นปัญหาที่สำคัญมาก เราปรารถนาที่จะพูดเกี่ยวกับอะตอมในทางใดทางหนึ่ง...แต่เราไม่อาจพูดถึงอะตอมในภาษาธรรมดาได้ เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ความคิดที่ว่าแบบจำลองและทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเป็นเพียงการประมาณ และภาษาที่ใช้อธิบายมันก็ไม่อาจจะชัดเจนได้เสมอนั้น ได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้เป็นต้นมา เมื่อมีพัฒนาการใหม่ ๆ ซึ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับโลกของอะตอมได้ทำให้นักฟิสิกส์เข้าใจในความจริงที่ว่า ภาษาสามัญของเราไม่เพียงแต่จะไม่ชัดเจน แต่ยังไม่เพียงพอที่จะใช้อธิบายความจริงในเรื่องของอะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฏีควอนตัมและทฤษฏีสัมพันธภาพซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ได้ให้ความกระจ่างแจ้งที่ว่า ความจริงในเรื่องดังกล่าวไปพันขอบเขตของตรรกศาสตร์สมัยเก่าและเราไม่อาจอธิบายมันด้วยภาษาสามัญ
ดังที่ไฮเซนเบิร์กได้เขียนไว้ว่า ปัญหาที่ยากที่สุด...เกี่ยวกับการใช้ภาษา ปรากฏขึ้นในทฤษฏีควอนตัม แรกที่สุด เรา ไม่มีแนวทางอย่างง่าย ๆ ที่จะเชื่อมโยงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์กับแนวคิดในภาษา สามัญ และเพียงประการเดียวที่เราได้ตระหนักตั้งแต่จุดเริ่มต้นก็คือความจริงที่ว่า แนว คิดสามัญของเราไม่อาจใช้ได้กับโครงสร้างของอะตอม เมื่อพิจารณาจากทัศนะทางปรัชญา จุดนี้เป็นพัฒนาการที่น่าสนใจมากที่สุดในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ และเป็นรากฐานอันหนึ่งในความสัมพันธ์กับปรัชญาตะวันออก ในสำนักปรัชญาตะวันตกต่าง ๆ ตรรกศาสตร์และเหตุผลถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแนวคิดทางปรัชญา และแม้กระทั่งในปรัชญาศาสนา ตามที่เบอร์ทรันด์ รัสเซล กล่าวไว้ ในทางตรงกันข้าม ในศาสนาตะวันออก เป็นที่เข้าใจกันดีว่า สัจจะเป็นสิ่งพ้นวิสัยของภาษาสามัญ และนักปราชญ์ชาวตะวันออกก็ไม่เกรงกลัวที่จะใช้ภาษาที่ไปพ้นตรรกะและแนวคิดสามัญ ข้าพเจ้าคิดว่านี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าเหตุใด สัจจะในทัศนะของตะวันออกจึงมีภูมิหลังที่คล้ายคลึงกันฟิสิกส์สมัยใหม่มากกว่าทางปรัชญาตะวันตก
หน้าถัดไป >>