ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
4
8.3 ไม่รู้ว่าตนรู้นั้นดีสุด
ความแตกต่างกันระหว่างหยินกับหยางมิใช่เป็นแต่เพียงกฎเกณฑ์พื้นฐานของวัฒนธรรมจีนเท่านั้น แต่ยังสะท้อนออกมาในแนวคิดใหญ่สองแนวของจีน ลัทธิขงจื้อนั้นเต็มไปด้วยเหตุผลมีลักษณะเข้มแข็งอย่างชาย กระตือรือร้นและมีอำนาจในทางตรงกันข้าม ลัทธิเต๋านั้นเต็มไปด้วยลักษณะแห่งญาณปัญญา นุ่มนวลอย่างหญิงลึกซึ้งและอ่อนน้อม เหลาจื้อกล่าวว่า ไม่รู้ว่าตนรู้นั้นดีที่สุด และ ปราชญ์ย่อมกระทำกิจโดยปราศจากการกระทำ และสอนโดยปราศจากคำพูด
ผู้นับถือเต๋าเชื่อว่าโดยการเปิดเผยส่วนที่เป็นความนุ่มนวลอย่างหญิง และความอ่อนน้อมแห่งธรรมชาติของมนุษย์ ก็จะเป็นการง่ายที่สุดที่จะนำชีวิตซึ่งได้ดุลอย่างสมบูรณ์ให้สอดคล้องกับเต๋า อุดมคติของเต๋าอาจสรุปรวมได้อย่างดีที่สุดในคำกล่าวของจางจื้อ ซึ่งอธิบายถึงสวรรค์แห่งเต๋า ในอดีตกาล ขณะที่ความยุ่งยากสับสนยังไม่เกิด บุคคลได้ดำรงอยู่ในความสงบซึ่งเป็นสมบัติของโลกทั้งหมด ในขณะนั้นหยินและหยางสอดคล้องต้องกันและคงสงบนิ่งอยู่ การหยุดและการเคลื่อนไหวเป็นไปโดยปราศจากอุปสรรค ฤดูกาลทั้งสี่ถูกต้องตามกำหนด ไม่มีสักสิ่งที่ได้รับอันตรายและไม่มีสิ่งมีชีวิตใดตายก่อนกำหนด มนุษย์อาจจะมีความรู้มากมายแต่ไม่มีโอกาสที่จะใช้มัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่าสภาวะแห่งเอกภาพสมบูรณ์ ในเวลาเช่นนี้ ไม่มีการกรำทำบนหนทางของผู้ใด คงมีแต่การปรากฏแสดงอย่างสม่ำเสมอของความเป็นไปเอง
<< ย้อนกลับ