ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
๑๑. ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ
พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับ ณ ฝั่งสระน้ำชื่อคัคครา ใกล้กรุงจัมปา ( ราชธานีแห่งแคว้นอังคะ ).
พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ( ทำนองเดียวกับสังคีติสูตร ส่วนด้วนบน ซึ่งในที่นี้จะนำมากล่าวตั้งแต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐ พอเป็นตัวอย่าง ) ดังต่อไปนี้?-
หมวด ๑. ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม ฯลฯ.
หมวด ๒. ธรรม ๒ อย่าง มีอุปการะมาก คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯลฯ.
หมวด ๓. ธรรม ๓ อย่าง มีอุปการะมาก คือ ๑. คบสัตบุรุษ ( คนดี ) ๒. ฟังธรรม (ของท่าน ) ๓. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯลฯ.
หมวด ๔. ธรรม ๔ อย่าง มีอุปการะมาก คือจักร ๔ อันได้แก่ ๑. อยู่ในประเทศหรือที่อยู่อันสมควร ๒. คบ ( หรือเข้าใกล้ ) สัตบุรุษ ๓. ตั้งตนไว้ชอบ ๔. ความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้ในกาลก่อน ฯลฯ.
หมวด ๕. ธรรม ๕ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์ ๕ ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน อันได้แก่ ๑. มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒. มีโรคน้อย ๓. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ๔. ลงมือทำความเพียร ๕. มีปัญญาเห็นความเกิดความดับ ฯลฯ.
หมวด ๖. ธรรม ๖ อย่าง มีอุปการะมาก คือสาราณิยธรรม ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำกันแลกันให้ระลึกถึง อันได้แก่ ๑. ตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ๒. ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ๓. ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ๔. แบ่งบันลาภ ๕. มีศีลอันดีเสมอกัน ๖. มีทิฏฐิ ( ความเห็น ) อันดีเสมอกัน ฯลฯ.
หมวด ๗. ธรรม ๗ อย่าง มีอุปการะมาก คืออริยทรัพย์ ๗ อย่าง ( กล่าวไว้แล้วในสังคีติสูตร ส่วนด้านบน ) ? ธรรม ๗ อย่าง ควรเจริญ คือโพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ) ๗ อันได้แก่ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบความอิ่มใจ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา ความวางเฉยอย่างมีสติกำกับ.
หมวด ๘. ธรรม ๘ อย่าง มีอุปการะมาก คือเหตุ ๘ ปัจจัย ๘ อันเป็นไปเพื่อได้ปัญญาซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ , ทำปัญญาที่ได้แล้วให้เจริญบริบูรณ์ยิ่งขึ้น อันได้แก่ ๑. ตั้งความละอายใจ ความเกรงกลัว ความรัก ความเคารพในศาสดา เเละเพื่อนพรหมจารี ๒. เข้าไปหาไต่ถามเป็นครั้งคราว ๓ ฟังธรรมแล้ว ก็ทำความสงบกาย สงบใจ . ให้ถึงพร้อมทั้งสองอย่าง ๔. สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) สมบูรณ์ด้วยอาจาระ ( มารยาท ) และโคจร ( รู้จักที่ควรไปไม่ควรไป ) ๕. สดับตรับฟังมาก ๖. ลงมือทำความเพียร ๗. มีสติ ๘. เห็นความเกิดความดับในขันธ์ ๕ ฯลฯ.
หมวด ๙. ธรรม ๙ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์แห่งความบริสุทธื์ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน ( ปาริสุทธิปาธานิยังคะ ) อันได้แก่ ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น ๔. กังขาวิตณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามความสงสัยเสียได้ ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่งทางและมิใช่ทาง ๖. ปฏิปทายาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่งข้อปฏิบัติ ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณ ๘. ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา ๙. วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลดพ้น ฯลฯ.
หมวด ๑๐. ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก คือธรรมะที่เป็นที่พึ่ง (นาถกรณธรรม ) ๑๐ ( ซึ่งกล่าวไว้ในสังคีติสูตร ส่วนด้านบน ) ฯลฯ.
เมื่อแสดงธรรมจบ ภิกษุทั้งหลายก็ชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร.
(หมายเหตุ ? ข้อธรรมในทสุตตรสูตรนี้ ตั้งแต่หมวด ๑ ถึง ๑๐ ยืนตัวอยู่ ๑๐ หัวข้อ คือ ๑. ธรรมมีอุปการะมาก ๒. ธรรมที่ควรเจริญ ๓. ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ๔. ธรรมที่ควรละ ๕. ธรรมที่มีส่วนแห่งความเสื่อม ๖. ธรรมที่มีส่วนแห่งความเจริญ ๗. ธรรมที่เข้าใจได้ยาก ๘. ธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น ๙. ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ๑๐. ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้วแจกรายละเอียดออกไปตามหมวดว่า หมวด ๑ ได้แก่อะไร หมวด ๒ ได้แก่อะไร จนถึงหมวด ๑๐ ได้แก่อะไร ในที่นี้แสดงพอเป็นตัวอย่าง ).
จบความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๑๑
- ปาฏิกสูตร
- อุทุมพริกสูตร
- จักกวัติสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์
- อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
- สัมปสาทนียสูตร ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า
- สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส
- ลักขณสูตร สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ ๓๒ ประการ
- สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
- อาฏานาฏิยสุรา สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
- สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
- ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ