ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
๑๐. สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ ทรงแวะ ณ นครปาวา ประทับอยู่ในป่ามะม่วงของนายจุนทะบุตรช่างทอง.
ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์สร้างสัณฐาคาร. ขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้ เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาจึงนิมนต์ให้ทรงใช้ก่อน มัลลกษัตริย์จะใช้ภายหลัง พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระองค์เองประทับนั่งพิงเสากลาง ภิกษุสงฆ์นั่งพิงฝาด้านตะวันออก มัลลกษัตริย์นั่งพิงฝาด้านตะวันตก พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมจนดึก จึงตรัสให้มัลลกษัตริย์กลับได้. ครั้นเห็นภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรให้แสดงธรรมแทน. พระองค์เองทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงพักผ่อนสำเร็จสีหไสยา ( บรรทมแบบราชสีห์ คือตะแคงขวา ).
พระสารีบุตรปรารภความที่นครถนาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย โต้เถียงกันด้วยเรื่องธรรมวินัย จึงสอนแนะให้ภิกษุทั้งหลายสังคายนาพระธรรมไม่วิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน. ครั้นแล้วท่านได้แสดงตัวอย่างการสังคายนาธรรมเป็นหมวด ๆ ( ซึ่งจะนำมากล่าวในที่นี้พอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้?-
หมวด ๑. ธรรมอย่างหนึ่ง คือสัตว์เป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร.
หมวด ๒. ธรรม ๒ อย่าง คือ ๑. นาม ๒. รูป? ๑. อวิชชา ( ความหลงไม่รู้จริง) ๒. ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมีอยากเป็น ) ? ๑. ภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความมีความเป็น ) ๒. วิภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความไม่มีไม่เป็น ) ฯลฯ.
หมวด ๓. รากเหง้าแห่งอกุศล ๓ อย่าง คือ ๑ . โลภะ (อยากได้ ) ๒. โทสะ ( คิดประทุษร้าย ) ๓ . โมหะ ( หลง ). รากเหง้าแห่งกุศล ๓ อย่างคือ ๑ . ไม่โลภ ๒. ไม่คิดประทุษร้าย ๓ ไม่หลง ฯลฯ.
หมวด ๔. การตังสติ (สติปัฏฐาน ดูมหาสติปัฏฐานสูตร ) พระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๔ ๔? ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน ) ๔ คือ ๑ . เพียงระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น ๒ . เพียงละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. เพียรทำกุศลให้เกิด ๔ . เพียงทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ) ฯลฯ.
หมวด ๕. ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ( กองรูป ) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา ความรู้สึกอารมณ์ ) ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำได้หมายรู้) ๔. สังขารขันธ์ ( กองสังขาร หรือความคิด หรือเจตนาที่ดีชั่ว ) ๕. วิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา หู เป็นต้น ) ฯลฯ.
หมวด ๖. อายตนะภายใน ๖ คือ ๑. ตา , ๒. หู, ๓. จมูก, ๔. ลิ่น, ๕. กาย, ๖. ใจ ฯลฯ.
หมวด ๗. อริยทรัพย์ (ทรัพย์อันประเสริฐ ) ๗ คือ ๑. ศรัทธา (เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ) ๒. ศีล ( รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ) ๓. หิริ (ละอายต่อบาป ) ๔. โอตปปะ ( เกรงกลัวต่อบาป ) ๕. สุตะ ( ศึกษาหรือสดับตรับฟัง ) ๖. จาคะ ( เสียสละ ) ๗. ปัญญา ( รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ ) ฯลฯ.
หมวด ๘. ความผิด ๘ คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด ) ๒. มิจฉาสังกัปปะ ( ความดำริผิด ) ๓. มิจฉาวาจา ( วาจาผิด ) ๔. มิจฉากัมมันตะ ( การกระทำผิด ) ๕. มิจฉาอาชีวะ ( เลี้ยงชีพผิด ) ๖. มิจฉาวายามะ ( เพียรพยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ ( ระลึกผิด ) ๘. มิจฉามสมาธิ ( ตั้งใจมั่นผิด ) ฯลฯ.
หมวด ๙. ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ ๑. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ( เสียหาย) ต่อเรา ๒. เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๓. เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๔. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคนที่รักที่ชอบใจของเรา ๕. เขากำลังทำอย่างนั้น ๖. เขาจักทำอย่างนั้น ๗. เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เราไม่รักไม่ชอบใจ ๘. เขากำลังทำอย่างนั้น ๙. เขาจักทำอย่างนั้น ฯลฯ.
หมวด ๑๐. ธรรมะที่ทำที่พึ่ง ( นาถกรณธรรม ) ๑๐ คือ ๑. มีศีล สำรวมปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ๒. สดับตรับฟังมาก ทรงจำได้ดี ๓. คบเพื่อนที่ดี ๔. ว่าง่าย ๕. ขยันช่วยทำกิจธุระของเพื่อน ๖. ใคร่ในธรรม ๗. สันโดษ ( ยินดีตามมีตามได้ ) ๘. ลงมือทำความเพียร ๙. มีสติ ๑๐. มีปัญญา ฯลฯ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจากบรรทม ก็ตรัสชมเชยว่า พระสารีบุตรได้กล่าวสังคีติปริยาย ( บรรยายเรื่องสังคายนา ) แก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างดี .
- ปาฏิกสูตร
- อุทุมพริกสูตร
- จักกวัติสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์
- อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
- สัมปสาทนียสูตร ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า
- สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส
- ลักขณสูตร สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ ๓๒ ประการ
- สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
- อาฏานาฏิยสุรา สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
- สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
- ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ