ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
๘. สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวัน ( ป่าไผ่ ) ใกล้กรุงราชคฤห์. เช้าวันหนึ่งเสด็จกรุงราชคฤห์เพื่อบิฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคลกมาณพมีผ้าเปียก มีผมเปียก ไหว้ทิศทั้งหกอยู่ ตรัสถาม ทราบว่าเป็นการทำตามคำสั่งของบิดา จึงตรัสว่า ในอริยวินัยไม่พึงไหว้ทิศแบบนี้. เมื่อมาณพกราบทูลถามว่า พึงไหว้อย่างไร จึงตรัสแสดงธรรมเป็นลำดับว่า เพราะเหตุที่อริยสาวก ( สาวกของพระอริยะ ) ละกรรมกิเลส ๔ ได้ ? ไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ ? ไม่เสพปากทางแห่งความเสื่อมทรัพย์ (โภคานํ อปายมุขานิ ) ๖ ประการ ? เขาปราศจากความชั่ว ๑๔ ดังกล่าวได้แล้ว เป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกทั้งสอง คือโลกนี้และโลกหน้า, เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
กรรมกิเลส ๔
กรรมกิเลส คือการกระทำที่เศร้าหมอง มี ๔ อย่างที่อริยสาวกละได้ คือ ๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์ ๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดปด.
ไม่ทำความชั่วโดยฐานะ ๔
อริยสาวกไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ คือความลำเอียง เพราะรัก , เพราะชัง , เพราะหลง , เพราะกลัว ทำกรรมชั่ว.
อบายมุข ๖
อริยะสาวกไม่เสพปากทางแห่งความเสื่อมทรัพย์ ๖ อย่าง คือ ๑. เป็นนักเลงสุรา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้าน . ครั้นแล้วทรงแสดงโทษของอบายมุขแต่ละข้อ ข้อละ ๖ อย่าง.
มิตรเทียม ๔ ประเภท
ทรงแสดงมิตรเทียม ( มิตตปฏิรูปกะ) ๔ ประเภท คือ ๑. มิตรปอกลอก ๒. มิตรดีแต่พูด ๓. มิตรหัวประจบ ๔. มิตรชวนในทางเสียหาย พร้อมทั้งแสดงลักษณะของมิตรเทียมทั้งสี่ประเภทนั้น ประเภทละ ๔ ประการ.
มิตรแท้ ๔ ประเภท
ทรงแสดงมิตรแท้ ๔ ประเภท คือ ๑. มิตรมีอุปการะ ๒. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข ๓. มิตรแนะประโยชน์ ๔. มิตรอนุเคราะห์ ( อนุกัมปกะ ) . พร้อมทั้งแสดงลักษณะของมิตรแท้ทั้งสี่ประเภทนั้น ประเภทละ ๔ ประการ.
ทิศ ๖ คือบุคคล ๖ ประเภท
อริยสาวกเป็นผู้ปกปิด ( ปฏิบัติชอบ ) ทิศทั้งหก คือ ควรทราบว่า ๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่มารดาบิดา ๒. ทิศเบื้องขวา ได้แก่อาจารย์ ๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่บุตรภรรยา ๔. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่มิตรอำมาตย์ ( คำว่า อำมาตย์ เป็นสำนวนบาลี หมายถึงมิตรอย่างเดียว ) ๕. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ทาส กรรมกร ๖. ทิศเบื้องบน ได้แก่สมณพราหมณ์ ( คำว่า พราหมณ์ ก็เหมือนกัน เป็นสำนวนแฝดกับคำว่า สมณะ คงหมายเฉพาะสมณะ).
ครั้นแล้วแสดงการปฏิบัติต่อบุคคลทั้งหกประเภท ที่เปรียบเหมือนทิศ ๖ เหล่านี้ ฝ่ายละ ๕ ประการ เป็นการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันทุกฝ่าย เช่น มารดาบิดากับบุตรธิดา? อาจารย์กับศิษย์? สามีกับภรรยา? มิตรกับมิตร? นายจ้างกับลูกจ้าง? สมณะกับประชาชน.
สิงคลมาณะก็เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.
(หมายเหตุ? พระสูตรนี้ชาวยุโรปเลื่อมใสกันมากว่าจะแก้ปัญหาสังคมได้ เพราะเสนอหลักทิศ ๖ อันแสดงว่าบุคคลทุกประเภทในสังคมควรปฏิบัติต่อกันในทางที่ดีงาม ไม่มีการกดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงไป. อนึ่ง ในที่นี้ไม่ได้แปลรายละเอียดทั้งหมด เพื่อรวบรัด ผู้ต้องการทราบรายละเอียดโปรดอ่านหนังสือวโกวาท ซึ่งพิมพ์แพร่หลายแล้วนับจำนวนล้านฉบับ).
- ปาฏิกสูตร
- อุทุมพริกสูตร
- จักกวัติสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์
- อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
- สัมปสาทนียสูตร ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า
- สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส
- ลักขณสูตร สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ ๓๒ ประการ
- สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
- อาฏานาฏิยสุรา สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
- สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
- ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ