สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การแพทย์แผนโบราณ

เภสัชวัตถุ

สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

» กระเทียม » กระวาน » กระเจี๊ยบแดง » กะทือ » กระชาย » กะเพรา
» กล้วยน้ำว้า » กานพลู » ข่า » ขิง » ขลู่ » ขมิ้น » ขี้เหล็ก » คูน » ชุมเห็ดเทศ
» ชุมเห็ดไทย » ดีปลี » ตำลึง » ตะไคร้ » เทียนบ้าน » ทองพันชั่ง » ทับทิม
» น้อยหน่า » บอระเพ็ด » บัวบก » ปลาไหลเผือก » ฝรั่ง » ผักบุ้งทะเล » เพกา
» พญายอ » พลู » ไพล » ฟักทอง » ฟ้าทลายโจร » มะเกลือ » มะขาม
» มะขามแขก » มะคำดีควาย » มะนาว » มะพร้าว » มะแว้งเครือ » มะแว้งต้น
» มะหาด » มังคุด » ยอ » ย่านาง » เร่ว » เล็บมือนาง » ว่านหางจระเข้
» สะแก » สับปะรด » เสลดพังพอน » สีเสียดเหนือ » หญ้าคา
» หญ้าหนวดแมว » แห้วหมู » อ้อยแดง

ชุมเห็ดเทศ

ชื่อท้องถิ่น ชุดเห็ดใหญ่ (ภาคกลาง) , ขี้คาก , ลับมึนหลวง , หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ) , ส้มเห็ด (เชียงราย) , จุมเห็ด (มหาสารคาม) , ตะลีพอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช ชุมเห็ดเทศเป็นไม้พุ่ม ใบรูปใข่หรือรูปใข่ขอบขนาน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เรียงตัวเป็นแบบใบประกอบ ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนยาว มีปีก 4 ปีก เมล็ดในรูปสามเหลี่ยม

ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกสด , ใบสดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก , เก็บดอกสดเป็นยา

รสและสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก

วิธีใช้ ใบและดอกชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้

1. ท้องผูก ใช้ดอกขุมเห็ดเทศสด 2 – 3 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาดหั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยครั้งละ 3 เม็ด รับประทานก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก

2. โรคกลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากเล็กน้อย ตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆจนหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

3. ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ถ้าเป็นมาให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

»» หลักในการพิจารณาตัวยา 5 ประการ
»» พืชวัตถุ
»» สัตว์วัตถุ
»» ธาตุวัตถุ
»» ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ
»» ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน
»» การเก็บยา
»» ตัวยาประจำธาตุ
»» สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
»» สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ
»» สีผสมอาการจากธรรมชาติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย