สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ประเภทอเทวนิยม (ไม่นับถือพระเจ้า)
มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา คัมภีร์ของศาสนาพุทธ คือ พระไตรปิฎก
หมายถึงตำราที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น 3 คัมภีร์ คือ
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
2. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก
รวมทั้งชาดกต่าง ๆ
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ
นิกายสำคัญของศาสนาพุทธ
- นิกายเถรวาท หรือหีนยาน เป็นนิกายที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระธรรมวินัย ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว กัมพูชา
- นิกายอาจริยวาท หรือมหายาน เป็นนิกายที่ดัดแปลงพระธรรมวินัยได้ ประเทศที่นับถือ ได้แก่ จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลี
หลักคำสอนของศาสนาพุทธ
1. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
- ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
- สมุทัย คือ เหตุของความเป็นทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
- นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือนิพพาน
- มรรค คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความดับทุกข์
หมายถึง อริยมรรค 8 ประกอบด้วย
1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ
7. สัมมาสติ คือ การตั้งสติชอบ
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจชอบ
อริยมรรค 8 เมื่อสรุปรวมแล้วเรียกว่า ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
2. ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ คือ
ส่วนที่เป็นร่างกาย และส่วนที่เป็นจิตใจ ได้แก่
- รูปขันธ์ คือ ร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
- เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก ซึ่งเป็นผลมาจากสุขเวทนา ความสุขทางกายและใจ ทุกขเวทนา คือ ทุกข์ทาง กายและใจ อุเบกขาเวทนา คือ ความไม่ทุกข์ไม่สุขทางกายและใจ
- สัญญาขันธ์ คือ การกำหนดได้ 6 อย่างจากวิญญาณและเวทนา คือ รูป รส กลิ่น เสียง
- สังขารขันธ์ คือ ความคิด แรงจูงใจ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว เป็นผลมาจากวิญญาณและเวทนา
3. ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก ได้แก่
1. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง
2. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์
3.
อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน