สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
2. เป็นจอมทัพไทย
3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง
ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี
ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง
และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีคนต่อไป
หน้าที่ขององคมนตรี
ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์
อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา
ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000
มีวาระ 4 ปี
2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3
ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
หน้าที่ของรัฐสภา
1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
4. วุฒิสภา หรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
อำนาจบริหาร
คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
1.
ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
8. มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด
กระทรวง อธิบดี
9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก
และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
อำนาจตุลาการ
คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น
ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้พิพากษาและตุลาการ
มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย คณะกรรมการตุลาการ
มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน
การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส.
วุฒิสภาและรัฐมนตรี
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวง
- ทบวง
- กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
- จังหวัด
- อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- เทศบาล
- กรุงเทพมหานคร
- เมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนตำบล
พรรคการเมือง
การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน