สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมมนุษย์

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

สมัยสุโขทัย

  1. ด้านการเมืองการปกครอง มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก โดยมีสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครอง และแวดล้อมด้วยเมืองลูกหลวง เมืองพระยามหานคร เมืองประเทศราช
  2. ด้านเศรษฐกิจ สมัยสุโขทัยประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ และเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม
  3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีการนับถือพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ มีการประดิษฐ์อักษรไทย วรรณกรรมเล่มแรกคือ ไตรภูมิพระ ร่วง ความก้าวหน้าทางศิลปะ คือ การสร้างวัดและพระพุทธรูป

สมัยอยุธยาและธนบุรี

  1. ด้านการเมืองการปกครอง มีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ 4
  2. ด้านเศรษฐกิจ เป็นสังคมเกษตรกรรม มีการค้ากว้างขึ้น มีการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า มีการจัดเก็บภาษีอากร
  3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมและรับเอาแบบวัฒนธรรมอย่างจากชาติต่าง ๆ เข้ามาใช้มากขึ้น

สมัยรัตนโกสินทร์ ถึงปัจจุบัน

  1. ด้านการเมืองการปกครอง มีการชำระกฎหมาย เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ในรัชกาลที่ 1 สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม วางรากฐานการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2475 เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ปัจจุบันประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น โดยรัฐบาลให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคแก่ประชาชนในการคิดและตัดสินใจเท่าเทียมกัน
  2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านประเพณี เพราะมีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตก เช่น การให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า และสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเลิกทาส ปฏิรูปการศึกษา และเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรม หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รับวัฒนธรรมตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้วิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยมของสังคมไทยเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น ปัจจุบันประชากรมีอัตราการเพิ่มสูงมากขึ้น สังคมเมืองขยายตัวรวดเร็ว ค่านิยมของสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางวัตถุนิยม สถาบันครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปความผูกพันและใกล้ชิดกันน้อยลง เกิดปัญหาสังคมตามมาและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยในปัจจุบัน
  3. ด้านเศรษฐกิจ หลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการค้า เช่น อังกฤษเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ป่าไม้ ทำให้ระบบเงินตราเปลี่ยนแปลง ในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นฉบับแรก ทำให้เศรษฐกิจของไทยมีแบบแผนมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม การแข่งขันในภาคธุรกิจเอกชน และสร้างปัจจัยขั้นพื้นฐาน
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม เน้นการลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐานเช่นเดียวกับแผนฯ ที่ 1
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ,นายสัญญา ธรรมศักดิ์ , ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ,ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช , นายธารินทร์ กรัยวิเชียร พัฒนาสังคมมากขึ้น มีการวางแผนกำลังคนและการทำงาน มีการวางแผนลดอัตราการเพิ่มประชากร เริ่มมาตรการการกระจายรายได้
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) สมัยนายธารินทร์ กรัยวิเชียร , พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ , พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม เน้นการลดความเหลื่อมล้ำ
  • ในการกระจายรายได้ และเริ่มใช้แผน “สวัสดิการทางสังคม” แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มุ่งการพัฒนาแบบใหม่ เรียกว่า “แผนนโยบาย” มุ่งการพัฒนาชนบทด้านเศรษฐกิจและสังคม และพัฒนาชายฝั่งตะวัน ออก (Eastern Sea Board)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534) สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ , พลเอกชาติชาย ชุณหวัน , นายอานันท์ ปันยารชุน มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน , นายชวน หลีกภัย , นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งเน้นการรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การกระจายรายได้และพัฒนาสู่ภูมิภาค พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ลดอัตราเพิ่มประชากรให้เหลือ 1.2 ในปี 2539
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งออก และแก้ปัญหาการเงิน การคลัง ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 12 ปี

แนวโน้มของสังคมไทย

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันต่าง ๆ ในสังคม คือ

1. เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม
2. มีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น
3. มีลักษณะเป็นสังคมประชาธิปไตยมากขึ้น
4. สตรีสามารถทำงานนอกบ้านและพึ่งพาตนเองมากขึ้น
5. สถาบันครอบครัวมีขนาดเล็กลง คือ พ่อ แม่ ลูก

วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย