สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมมนุษย์

การเมืองการปกครองของไทย

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย ลักษณะการปกครอง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. แบบพ่อปกครองลูก ช่วงต้นสมัยสุโขทัย เรียกผู้นำว่า “พ่อขุน” ปกครองประชาชนด้วยความห่วงใยและมีเมตตา ต่อประชาชนเปรียบเสมือนพ่อกับลูก ฐานะของกษัตริย์เป็นปิตุราชา
  2. แบบธรรมราชา ในช่วงสุโขทัยตอนปลายการปกครองใช้ธรรมะเนื่องจากได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา กษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม โดยประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และมีสิทธิเสรีภาพเหมือนกัน เช่น เสรีภาพในการประกอบอาชีพ

การจัดระเบียบการปกครองสมัยสุโขทัย

1. เมืองหลวง คือ สุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครอง
2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองหลวง มี 4 ทิศ โดยมีเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่สะสมเสบียงอาหาร และป้องกันข้าศึกศัตรู เมืองหน้าด่านทั้ง 4 ได้แก่

- ทิศเหนือ คือ ศรีสัชนาลัย
- ทิศใต้ คือ สระหลวง (พิจิตร)
- ทิศตะวันออก คือ สองแคว (พิษณุโลก)
- ทิศตะวันตก คือ ชากังราว (กำแพงเพชร)

3. เมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอก มีเจ้าเมืองหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ปกครอง
4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยยอมสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการให้ และมีเจ้าเมืองเดิมปกครอง

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

ลักษณะการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา
2. แบบเทวราชา กษัตริย์เป็นสมมติเทพ รับอิทธิพลมาจากขอม

การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา

สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้นำรูปแบบการปกครองของสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้ โดยแบ่งเป็น

- ราชธานี
- หัวเมืองชั้นใน
- เมืองลูกหลวง
- หัวเมืองชั้นนอก
- เมืองประเทศราช

ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น

- ราชธานี
- หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง”
- หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) , แขวง(อำเภอ) , ตำบล , บ้าน

การปกครองราชธานี

การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงแบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่

- กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี
- กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ
- กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง
- กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้

การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูป ใหม่เป็น

- กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
- กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
- กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
- กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี

สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ

- สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร
- สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน และยังได้กำหนดกำหมายขึ้น คือ
- กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน
- กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์

ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้

1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน
4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส
5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน

การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5

1. การเลิกทาสและไพร่
2. การปฏิรูปทางการศึกษา
3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร
4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน
5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง
6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม
8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา
2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม และจัดตั้ง

หน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่

1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง
2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้
3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ
4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง
5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์
6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง
8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา
9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร
10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ
11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา
12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค

  • มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง
  • ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่บ้านเอง

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง

  • ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
  • ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ

การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6

1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา
3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล
5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7

การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน

หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ

  • ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร
  • ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
  • ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล

หลักการปกครองของคณะราษฎร

1. รักษาความเป็นเอกราช
2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ
3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี
4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน
5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ
6. ให้ประชาชนมีการศึกษา

การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก

1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง
2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาย่อยครั้ง
3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง
4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น

วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย