สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมมนุษย์

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงามทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจที่มนุษย์สร้างขึ้นในสังคมหนึ่ง ที่มีการสืบ ทอดมาเป็นเวลานานและตกทอดไปสู่ชนรุ่นหลัง ได้แก่ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย เป็นต้น

ประเภทของวัฒนธรรม

  1. วัฒนธรรมทางวัตถุหรือรูปนาม ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ สถาปัตยกรรม เครื่องจักรกล
  2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุหรือนามธรรม ได้แก่ ภาษา อุดมการณ์ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี

ลักษณะของวัฒนธรรม

1. เกิดจากการเรียนรู้ ไม่ใช่ถ่ายทอดทางชีวภาพหรือกรรมพันธุ์
2. เป็นวิถีชีวิตหรือแบบแผนการดำรงชีวิต
3. เป็นมรดกทางสังคมถ่ายทอดมาสู่ชนรุ่นหลังได้
4. มีการเปลี่ยนแปลงได้ ปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือสูญสลายไป
5. เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม

ความสำคัญของวัฒนธรรม

1. สนองความต้องการของมนุษย์
2. เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม
3. สร้างความเจริญให้สังคม
4. สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแก่สมาชิก
5. สร้างเอกลักษณ์ของสังคม
6. สร้างมรดกทางสังคม

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไทย

1. เป็นวัฒนธรรมที่นับถือระบบเครือญาติ
2. เป็นวัฒนธรรมที่เชื่อถือในการบุญการกุศลในเทศกาลต่าง ๆ
3. เป็นวัฒนธรรมที่มีแบบแผนพิธีกรรม มีขั้นตอนต่าง ๆ ในการประกอบพิธี
4. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม
5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน การละเล่นที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของงาน
6. เป็นวัฒนธรรมผสมผสานของวัฒนธรรมชาติอื่น ๆ เข้าผสมผสานด้วย

 

วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย