สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง
กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน
เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
สาเหตุที่ต้องจัดระเบียบทางสังคม
1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐานของสังคม
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ
1. บรรทัดฐานทางสังคม
บรรทัดฐาน หมายถึง
มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ
แบบแผนความประพฤติต่าง ๆ
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
- วิถีประชา หรือวิถีชาวบ้าน หมายถึง แนวทางการปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ยอมรับและปฏิบัติตามความเคยชิน
- กฎศีลธรรม หรือจารีต หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีความสำคัญมากกว่าวิถีประชา หากฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามและลงโทษ และมีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
- กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่กำหนดไว้
2. สถานภาพ
สถานภาพ หมายถึง
ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้นหรือตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของ สังคม
และบุคคลเดียวอาจมีหลายสถานภาพได้
ลักษณะของสถานภาพ
1. เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น เช่น
อารีย์เป็นนักเรียน สมชาติเป็นตำรวจ เป็นต้น
2. บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ เช่น สมชาติเป็นตำรวจ เป็นพ่อและเป็นข้าราชการ
3.
เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่นและสังคมส่วนรวม
4. เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม
สถานภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ
- สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ ได้แก่ การประกอบอาชีพ การศึกษา การสมรส เช่น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
3. บทบาท
บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และการแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพ
สถานภาพและบทบาทเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
สถานภาพเป็นตัวกำหนดบุคคลให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ
บทบาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทำ
การที่บุคคลมีหลายสถานภาพอาจเกิดบทบาทที่ขัดกัน (Roles conflicts) หมายถึง
การที่คนคนหนึ่งมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกันและขัดกันเองทำให้ยากต่อการปฏิบัติตามบทบาทใดบทบาทหนึ่ง
การควบคุมทางสังคม แบ่งเป็น
- การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น การยกย่อง การชมเชย หรือการให้รางวัล
- ลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ผิดวิถีชาวบ้าน การลงโทษคือตำหนิ ซุบซิบนินทา หัวเราะเยาะ ผิดกฎศีลธรรม ไม่คบหาสมาคม ผิดกฎหมาย ซึ่งการลงโทษจะมากหรือน้อยแล้วแต่การกระทำผิด
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม หมายถึง
กระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มใหญ่เกิดขึ้นในตัวบุคคล
เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี
ความมุ่งหมายของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยแก่สมาชิกในสังคม
2. เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังที่สังคมยกย่อง
3.
เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนตามกาลเทศะและความเหมาะสม
4.
เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม
เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม
- บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ
- ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ
- ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือ ไม่มีเหตุผล ความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหายทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสังคม
กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม
1. ครอบครัว
2. กลุ่มเพื่อน
3. โรงเรียน
4. กลุ่มอาชีพ
ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมนุษย์
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน