สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐกำหนดขึ้น
เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ
และเป็นสิ่งที่ศาลใช้ตัดสินคดี
ลักษณะของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน
2.
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป จนกว่าจะมีการยกเลิก
วิวัฒนาการของกฎหมายไทย
- สมัยสุโขทัย กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกและถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหง
- สมัยอยุธยาและธนบุรี มีการใช้พระราชศาสตร์และพระธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายที่ใช้สืบต่อกันมา
- สมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ เรียกว่า
กฎหมายตราสามดวง ได้แก่
- ตราราชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหนายก
- ตราคชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม
- ตราบัวแก้ว ประจำตำแหน่งโกษาธิบดี
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4
ทรงโปรดเกล้าฯให้แก้ไขกฎหมายตราสามดวงออกเป็นพระราชกำหนดฉบับต่าง ๆ 500 ฉบับ
เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นทัดเทียมกับประเทศทางตะวันตก ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5
มีการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่ มีการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย
มีการยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และตรากฎหมายอาญาขึ้นซึ่งถือว่าเป็น
ประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกของไทย ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการวางรากฐานกฎหมายไทย คือ
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ โดยได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายไทย
ประเภทของกฎหมาย
- กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน
ได้แก่
- กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายระหว่างเอกชนต่อเอกชนว่าด้วยสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลทั่วไป
- กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายระหว่างบุคคลต่อบุคคลในทางการค้า อุตสาหกรรม การกสิกรรม และการธนาคาร - กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองรัฐ ระหว่างรัฐกับเอกชน
หรือประชาชนทั่วไป ได้แก่
- กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครอง
- กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการจัดระเบียบทางการปกครองของประเทศ หรือการบริหารราชการ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง (สำนักนายกรัฐมนตรี , กระทรวง , ทบวง , กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด , อำเภอ) และส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด , เทศบาล , องค์การปกครองพิเศษกรุงเทพฯ และเมืองพัทยา)
- กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิด และลักษณะโทษที่ผู้กระทำผิดจะได้รับ
- กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายว่าด้วยการจับกุมคุมขัง การฟ้องร้อง การพิจารณาพิพากษา เป็นต้น
- กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายเป็นกำหมายที่บัญญัติถึงการยื่นคำฟ้อง คำให้การ การพิจารณาคดี ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา กฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายที่กำหนดความเกี่ยวพันระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ แบ่ง เป็น 3 แระเภท คือ
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
ลำดับความสำคัญของกฎหมาย
1. พระราชบัญญัติ
- รัฐมนตรีหรือสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ
- ผู้ตราพระราชบัญญัติ คือ พระมหากษัตริย์
- ตราขึ้นเพื่อจัดระเบียบทางสังคม
- สามารถใช้ได้จนกว่าจะมีการยกเลิก
- ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. พระราชกำหนด
- ออกเฉพาะเรื่องในกรณีพิเศษ
- มีสภาพบังคับเท่าพระราชบัญญัติ
- ผู้เสนอ คือ รัฐมนตรี
- ผู้พิจารณา คือ รัฐมนตรี
- ผู้ตรา คือ พระมหากษัตริย์
- ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
3. พระราชกฤษฎีกา
- ออกโดยฝ่ายบริหาร
- จะขัดกับพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดไม่ได้
- มีสภาพเฉพาะเรื่อง เพื่อกำหนดรายละเอียดในพระราชบัญญัติ
- ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
4. กฎกระทรวง
- ออกโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวงนั้น
- ผู้ตรา คือ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
- เป็นกฎหมายกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้
5. ข้อบัญญัติจังหวัด
- ออกโดยสภาจังหวัด
- ประกาศ ณ ศาลากลางจังหวัด
6. เทศบัญญัติ
- ออกโดยสภาเทศบาล
- ผู้ตรา คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
7. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
- ออกโดยสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- ผู้ตรา คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน