สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ระบบการเมืองการปกครองของรัฐจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและความต้องการของรัฐนั้น
ระบบการ เมืองการปกครองที่สำคัญมี 2 ระบบ คือ
1. การปกครองแบบประชาธิปไตย
2. การปกครองแบบเผด็จการ
การปกครองแบบประชาธิปไตย
หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
โดยประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสูงสุด โดยเน้นสิทธิ
เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนเท่ากันทุกคน
รูปแบบของประชาธิปไตยมี 2 แบบ คือ
- ประชาธิปไตยทางตรง หมายถึง การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง โดยใช้อำนาจอธิปไตยด้วยตนเอง
- ประชาธิปไตยทางอ้อม หมายถึง การที่ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน
ลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
1. แบบประธานาธิบดี
1.
ประธานาธิบดีได้รับเลือกมาจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
2. แยกอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ มีอิสระออกจากกันโดยเด็ดขาด
3. ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมคณะได้อย่างอิสระ
4. ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจในการยุบสภา
รัฐสภาไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร
5. รัฐสภาทำหน้าที่ออกกฎหมายและอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน
6. ประธานาธิบดีแต่งตั้งผู้พิพากษาสูงสุดโดยรัฐสภายินยอม
ประเทศที่ใช้การปกครองแบบประธานาธิบดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
เป็นต้น
2. แบบรัฐสภา
1. ตำแหน่งของประมุขของประเทศอาจเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี
2. นายกรัฐมนตรีบริหารประเทศภายใต้การควบคุมของรัฐสภา
หากรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี ต้องลาออกทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล
3. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการยุบสภาได้หากเกิดความขัดแย้ง
4. รูปแบบการปกครองไม่แยกอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหารและตุลาการ ประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐสภา ได้แก่ ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น สเปน
เป็นต้น
3. แบบกึ่งประธานาธิบดีและกึ่งรัฐสภา
1. ประธานาธิบดีจะเป็นผู้บริหารประเทศร่วมกันนายกรัฐมนตรี
2.
ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งและเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
โดยได้รับความยินยอม จากรัฐสภา
3. ถ้ารัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีต้องลาออก
แต่ประธานาธิบดีไม่ต้องลาออก
4. ประธานาธิบดีมีสิทธิยุบสภาได้
ประเทศที่ใช้รูปแบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีและกึ่งรัฐสภา ได้แก่ ฝรั่งเศส
โปรตุเกส เป็นต้น
การปกครองแบบเผด็จการ
หมายถึง การปกครองโดยคนคนเดียว คณะบุคคล
หรือพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว โดยเน้นผลประโยชน์ ของรัฐมากกว่าของประชาชน สิทธิ
เสรีภาพอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ของรัฐ
รูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการ มี 2 แบบ คือ
- เผด็จการอำนาจนิยม คือ อำนาจสูงสุดเป็นของผู้นำ รัฐบาลควบคุมสิทธิ
และเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน แต่ให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
- เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม คือ รัฐควบคุมสิทธิและเสรีภาพทุกด้านของประชาชน
ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจสังคม ประชาชนต้อง
ต้องเชื่อฟังและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด
มีการลงโทษผู้ที่ทำผิดอย่างรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็น
- เผด็จการฟาสซิสต์ หรือนาซี เน้นความเป็นชาตินิยม ประเทศที่ใช้คือ เยอรมัน อิตาลี
- เผด็จการคอมมิวนิสต์ ประเทศที่ใช้คือ จีน เวียดนาม คิวบา
ระบบการเมืองการปกครองกับระบบเศรษฐกิจ
การเมืองการปกครองแบ่งออกเป็น 2 ระบอบ คือ ระบอบประชาธิปไตย
และระบอบเผด็จการ ส่วนระบบเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (สังคมนิยม)
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
หลักการ
1. เอกชนสามารถเป็นเจ้าของกิจการการผลิตได้
2.
รัฐบาลจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริโภคน้อยที่สุด
3. ผู้บริโภคมีอำนาจในการเลือกซื้อสินค้าตามต้องการ
4. ผู้ผลิตต้องการผลิตให้ได้กำไรสูงสุด การแบ่งปันถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
หลักการ
1. รัฐบาลจะจำกัดเสรีภาพทางเศรษฐกิจของเอกชนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
2.
รัฐบาลจะดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจเพื่อกระจายผลประโยชน์สู่ประชาชนอย่างทั่วถึงกัน
3. รัฐเป็นเจ้าของแรงงาน
4. มีการจำกัดเสรีภาพของผู้บริโภค
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
หลักการ
1. เอกชนมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการเป็นเจ้าของกิจการและการแก้ปัญหา
2. รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการบางอย่าง เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย
การป้องกันการเอาเปรียบของนายทุน
3. ใช้กลไกราคาและการวางแผนเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน