สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ความหมายของรัฐ
รัฐ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่ประกอบด้วยดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน
มีประชากรอยู่ภายใต้การ
บริหารของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเหนือประชาชนอย่างอิสระ
โดยได้ยอมรับจากชุมชนภายนอก องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สังคมเป็นรัฐ คือ
อำนาจอธิปไตย
องค์ประกอบของรัฐ
- ประชากร ไม่จำเป็นต้องมีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีอย่างเดียวกัน
- ดินแดน มีอาณาเขตที่แน่นอน ซึ่งหมายถึง เขตแดน พื้นน้ำ และน่านฟ้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ
- รัฐบาล คือ คณะบุคคลที่มีอำนาจปกครองในรัฐ อาจเป็นรัฐบาลที่ได้จากการเลือกตั้ง แต่งตั้ง ยึดอำนาจ ซึ่งคณะบุคคลนั้นสามารถใช้กฎหมายบังคับ และได้รับการยอมรับจากนานาชาติด้วย
- อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ อำนาจนิติบัญญิต อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ความแตกต่างระหว่างรัฐกับประเทศ
ประเทศ หมายถึง ชนชาติ คือประชาชนที่มีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา
ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เหมือนกัน
รัฐ หมายถึง ประชากร ประกอบด้วยหลายชนชาติหรือชาติเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบครบ
4 อย่างดังที่กล่าวไว้แล้ว
รูปแบบและหน้าที่ของรัฐ
- รัฐเดี่ยวหรือเอกรัฐ หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย การปกครองใช้กฎระเบียบ แบบแผนอย่างเดียวกันทั่วประเทศ เพราะมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง
- รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ หมายถึง รัฐบาลที่มีรัฐบาล 2 ระดับ คือ
- รัฐบาลกลาง ตั้งอยู่เมืองหลวง ทำหน้าที่บริหารเกี่ยวกับ การเงิน การคลัง การทหารและการต่างประเทศ ประเทศที่ใช้ใช้รัฐเดี่ยวได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฝรั่งเศส
- รัฐบาลท้องถิ่น มีหน้าที่บริหารด้านการศึกษา สาธารณสุข รักษาความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น ประเทศ ที่ใช้ระบบรัฐรวม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย แคนาดา มาเลเซีย อินโดนีเซีย
หน้าที่ของรัฐ
1. ทำหน้าที่ในการปกครอง รักษากฎหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
2. ทำหน้าที่ในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
และมีความเสมอภาคกันทางเศรษฐกิจ
3. ทำหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงและปลอดภัยทั้งในและนอกประเทศ
4. ทำหน้าที่การบริการและสวัสดิการทางสังคม การศึกษา ความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน
5. ทำหน้าที่เจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ
การจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ สถาบันการปกครองที่สำคัญภายในรัฐ ได้แก่
1. ประมุข - อาจเป็นพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดี
2. รัฐสภา - ออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล
3. รัฐบาล - บริหารประเทศและบังคับการใช้กฎหมาย
4. ศาล - ตัดสินคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
หลักการใช้อำนาจในการปกครอง
- การรวมอำนาจ คือ การให้กระทรวง ทบวง กรม ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ แต่อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง คือ เมืองหลวง
- การกระจายอำนาจ คือ การให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจในการปกครองตนเองและมีส่วนร่วมทางการเมือง ให้อิสระในการพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ ได้
- การแบ่งแยกอำนาจ คือ ส่วนกลางส่งเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ โดยให้อำนาจในการบริหารบาง อย่างแก่เจ้าหน้าที่
ข้อดีและข้อเสียของการรวมอำนาจและกระจายอำนาจ
การรวมอำนาจ
ข้อดี
1. มีความเป็นเอกภาพ
2. ประหยัดเวลาและงบประมาณ
3. การพัฒนาประเทศสะดวกและรวดเร็ว
4. การวางแผนรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้ดี
ข้อเสีย
1. อาจเกิดปัญหาคอรับชั่น หากควบคุมเจ้าหน้าที่ไม่ดี
2.
ประชาชนไม่มีโอกาสปกครองตนเอง
3. เกิดความล่าช้าในการบริหารประเทศ
4. การบริหารอาจมีประสิทธิภาพต่ำ
การกระจายอำนาจ
ข้อดี
1. สนองความต้องการและเป้าหมายของท้องถิ่นได้ดีและรวดเร็ว
2. สามารถสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย
3. ประชาชนเข้าร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
ข้อเสีย
1. การบริหารขาดเอกภาพ
2. ค่าใช้จ่ายมีมากขึ้น
3. การวางแผนในการใช้ทรัพยากรอาจไม่ดี
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน