สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมมนุษย์

ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ลักษณะความสัมพันธ์รัฐบาลแบบประชาธิปไตย คือการปกครองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อคนส่วนใหญ่ พลเมืองต้องเรียนรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง และรับรู้สิทธิ และหน้าที่ของผู้อื่น โดยยึดหลักการต่อไปนี้

1. หลักความเสมอภาค

- ความเสมอภาคทางกฎหมาย
- ความเสมอภาคทางการเมือง
- ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม

2. หลักสิทธิและเสรีภาพ

สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลตามกฎหมาย เสรีภาพ หมายถึง ความเป็นอิสระของบุคคลในขอบเขตของกฎหมาย

สิทธิของพลเมือง

- สิทธิทางการเมือง
- สิทธิในทรัพย์สิน
- สิทธิในครอบครัว
- สิทธิในการร้องทุกข์

เสรีภาพของพลเมือง

- เสรีภาพในการนับถือศาสนา
- เสรีภาพในเคหสถาน
- เสรีภาพในการเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
-เสรีภาพในการศึกษา
- เสรีภาพในการชุมนุมโดยชอบ
- เสรีภาพในการรวมกลุ่มหรือสมาคม
- เสรีภาพในการรวมเป็นพรรคการเมือง
- เสรีภาพในการสื่อสาร
- เสรีภาพในการเดินทาง

3. หลักการสำคัญ

- อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
- หลักความเสมอภาค
- หลักเสรีภาพ
- หลักการใช้เหตุผลในการปกครอง
- หลักการประนีประนอมและสันติวิธี
- หลักความยินยอมของประชาชนให้ปกครองโดยมีระยะเวลาและอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ

บทบาทและหน้าที่ของพลเมืองต่อระบอบประชาธิปไตย

หน้าที่ของประชาชนทุกคนในระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้

1. ปฏิบัติตามกฎหมาย
2. เสียภาษีอากร
3. รับราชการทหาร
4. ช่วยเหลือสังคมสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน
5. ศึกษาหาความรู้ตามที่รัฐกำหนด
6. สนับสนุนรัฐบาลที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
7. ใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ
8. ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐ
9. แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของรัฐ
10. กระทำตนเป็นแบบอย่างของพลเมืองดี

ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐบาลเผด็จการกับพลเมือง

1. ความไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. ผลประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าประชาชน
3. มนุษย์จะประสบผลสำเร็จได้ต่อเมื่อมีผู้นำเข็มแข็ง
4. ให้ความสำคัญอำนาจรัฐมากกว่าพลเมือง
5. ระบบเผด็จการมี 2 กลุ่ม คือ ผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง

วิธีการควบคุมประชาชนในระบบเผด็จการ

1. ควบคุมสื่อมวลชน เพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล
2. ควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
3. การปราบปรามประชาชนโดยใช้วิธีรุนแรง
4. ห้ามมีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน
5. ทำให้ประชาชนหวาดกลัวรัฐบาล
6. จูงใจประชาชนเห็นความสำคัญของรัฐบาล
7. ขัดขวางประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วมในการปกครอง

บทบาทและหน้าที่ของพลเมืองในระบบเผด็จการ

1. ปฏิบัติตามที่รัฐกำหนดเท่านั้น
2. เป็นสมาชิกของพรรครัฐบาลเพียงพรรคเดียว
3. ไม่มีสิทธิประท้วงการทำงานของรัฐบาล

วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย