วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
การขยายพันธุ์
ข้าวสาลีขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดลงในแปลงปลูกที่มีการเตรียมดินอย่างดี
ดินปลูกควรมีการกำจัดวัชพืชแล้วไถพรวนให้ละเอียดโดยใช้แรงงานจากคนหรือสัตว์หรือเครื่องจักร
แล้วหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูกให้เป็นแถว ความลึกของหลุมหรือแถวปลูกประมาณ 2-12
เซนติเมตร ในการปลูกข้าวสาลีต้องคำนึงถึงอุณหภูมิและความชื้นภายในดิน
รวมทั้งปริมาณของน้ำในแหล่งน้ำให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวสาลีตลอดฤดูกาลปลูก
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการปลูกข้าวสาลีได้ประมาณ 250-300 ต้นต่อพื้นที่
1 ตารางเมตร มีช่อดอกหรือรวงข้าว 400600 รวงต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร (van Ginkel
and Villareal, 1996)
ในประเทศไทยมีการนำข้าวสาลีพันธุ์ INIA 66 ซึ่งเป็นข้าวสาลีขนมปัง(bread
wheat) มาทดลองปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ ปี พ.ศ. 2510
ต่อมาได้มีการทดลองปลูกในพื้นที่ของสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง
รวมทั้งมีการนำพันธุ์ดีต่างๆ เข้ามาปลูกเพิ่มเติม
ตลอดจนมีการปรับปรุงพันธุ์โดยนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้พันธุ์ข้าวสาลีที่เหมาะสมต่อการปลูกในประเทศไทย คือ สะเมิง 1 อินทรี 1 และอินทรี
2 Sw 26 Sw 170 (งามชื่น, 2548; นิรนาม, 2548 ข.)
ภาพข้าวสาลีพันธุ์สะเมิง1 (งามชื่น, 2548)
ภาพาวสาลีที่ปลูกทางภาคเหนือของประเทศไทย
(สุรชัย, 2535)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวสาลี
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว-การส่งออก