ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
สุนทรียศาสตร์จีน
สุนทรียศาสตร์ชาวจีนตั้งอยู่บนฐานความหมายที่สาม
(ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ)
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติในการทำงาน ณ ที่นี้
แตกต่างไปจากสิ่งที่เรารับรู้ในสังคมวัฒนธรรมอื่น โดยเฉพาะในโลกตะวันตก
แม้ว่าจะมีความหมายที่แตกต่างกันมากในคำว่าธรรมชาติ อย่างรไก็ตาม
มีอยู่สองความหมายที่มีอิทธิพลโดยเฉพาะ
- ความหมายแรก เรียกว่าแนวคิดทวินิยม กล่าวคือ
ธรรมชาติคือสิ่งที่มนุษย์มิได้เป็นผู้สร้างสรรค์หรือสามารถจัดการควบคุม
ความตรงข้ามเกี่ยวกับแนวคิดธรรมชาติคือวัฒนธรรมหรือมนุษย์(culture or human)
ตึกระฟ้า หรือขยะมลพิษได้รับการพิจารณาว่าไม่ใช่ธรรมชาติ
- ความหมายที่สอง
คือแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติที่เราเรียกว่าเอกนิยม กล่าวคือ
ธรรมชาติคือสิ่งที่ดำรงอยู่ในโลกของเรา
ตึกระฟ้าหรือขยะมลพิษสำหรับในความเข้าใจนี้เป็นธรรมชาติ
และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสามารถศึกษามันได้
ในที่นี้สิ่งซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมชาติคือสิ่งที่เหนือธรรมชาติ(supernatural)
สุนทรียศาสตร์ของชาวจีนตั้งอยู่บนฐานรากในความหมายที่สาม
แนวคิดในลักษณะกริยาวิเศษณ์เกี่ยวกับธรรมชาติ(adverbial notion of nature).
ดั่งเช่นในแนวคิดเอกนิยมเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยสาระแล้ว
มนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ในการดำรงอยู่ของมนุษย์นั้น
พวกเขาอาจกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติ
หากว่าพวกเขามิได้กระทำในลักษณะที่เป็นไปเองตามธรรมชาติของพวกเขา(spontaneously
according to their nature) ความตรงข้ามสำหรับความหมายธรรมชาตินี้ก็คือ
สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเรียกว่า artificial, เกี่ยวกับการฝืนใจ
การบังคับที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ (forced), และด้วยเหตุนี้
มันจึงขาดความกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
วัฒนธรรมของมนุษย์ที่แสดงออกหรืออาจมิได้แสดงออกถึงจิตธรรมชาติ(the mind of
nature). โดยแก่นแท้แล้ว มนุษย์คือสิ่งธรรมชาติ แต่ในการดำรงอยู่
สิ่งธรรมชาติเป็นเพียงความเป็นไปได้เท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องทำเพื่อตระหนักถึงมัน
หรือทำให้มันเป็นจริง
พิธีกรรมและดนตรี ในแนวคิดของขงจื่อ
ซุนซี: ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับระเบียบแบบแผน เสี้ยวทง:
ผู้ปลดปล่อยดนตรีจากจริยศาสตร์ (ค.ศ.530)
สุนทรียศาสตร์ถูกครอบงำโดยชนชั้นสูง
วังเว่ย: งานจิตรกรรมจักต้องสอดคล้องกับ ป้ากัว หรือ
แผนผังจักรวาล
ซังฮี: แนวทางหลัก 6 ประการสำหรับการตัดสินจิตรกรรม
การสังเคราะห์ในราชวงศ์ซ้อง(the Song Synthesis)
เหมาเซตุง, หลู่ซิ่น: ศิลปะรับใช้การปฏิวัติ
มวลชนในฐานะที่เป็นวีรบุรุษต่างๆ ในภาพเขียน
การปฏิวัติวัฒนธรรม (the Cultural Revolution) ค.ศ.19661976
ปล่อยให้ดอกไม้ร้อยดอกเบ่งบาน โรงเรียนร้อยแห่งแข่งขัน
สุนทรียศาสตร์จีน (Chinese aesthetics)
นำมาจาก EAST ASIAN
AESTHETICS AND NATURE David Landis Barnhill
ศิลปะไม่ใช่การอธิบายเกี่ยวกับความจริงของผิวหน้า
กวีที่ยิ่งใหญ่ได้บรรลุถึงเอกภาพแห่งทวินิยม
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
วัฒนธรรมมนุษย์จึงไม่แยกจากธรรมชาติ
สุนทรียศาสตร์ชาวจีนตั้งอยู่บนฐานความหมายที่สาม
(ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ)