ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

สุนทรียศาสตร์จีน

เหมาเซตุง, หลู่ซิ่น

 ศิลปะรับใช้การปฏิวัติ

เหมาเซตุง(Mao Zedong) (ค.ศ.1893–1976) ได้ล้มล้างความรู้ของชนชั้นสูง ซึ่งเน้นความสำคัญในความเป็นคลาสสิกและคุณค่าของอดีต ช่วงระหว่างการปกครองแบบสาธารณรัฐ (ค.ศ.1912–1949), หลู่ซิ่น (Lu Xun) (ค.ศ.1881–1936)—นักเขียน, นักกิจกรรม, และผู้ก่อตั้ง”ขบวนการพิมพ์ในเชิงสร้างสรรค์(the Creative Print Movement)—ได้กระตุ้นให้บรรดาศิลปินทั้งหลายใช้ประโยชน์งานศิลปะในการรับใช้การปฏิวัติ (โดยมีพื้นฐานอยู่บนอุดมการณ์แบบยุโรป) การพูดของเขาปี 1942 ในการประชุมที่แหย่หนาน (Talks at the Yan'an Conference) เกี่ยวกับเรื่องวรรณกรรมและศิลปะ (รากฐานสำหรับสุนทรียศาสตร์จีนคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งปี 1979) เหมาได้ปรับประยุกต์ความคิดของหลู่ซิ่นสู่การปฏิวัติของเขา และให้การยอมรับเขาในฐานะที่เป็นต้นตอการให้กำเนิด

    เหมาได้ให้เหตุผลว่า ประวัติศาสตร์ศิลปะคือผลผลิตหนึ่งของโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองที่จะต้องได้รับการปฏิเสธ: กล่าวคือในยุคบรอนซ์ ศิลปะเป็นผลิตผลของสังคมทาส ขณะที่นับจากราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา (140 B.C.E.–220 C.E.) จนถึงคริสตศตวรรษที่ 20 จีนเป็นเอกภาพภายใต้ระบบศักดินาโดยมีองค์จักรพรรดิ์เป็นศูนย์กลางการปกครอง และจากองค์พระจักรพรรดิ์ คุณค่าทั้งหมดได้แผ่กิ่งก้านขยายออกไป (McDougall)



    อย่างไรก็ตาม เหมาได้ประยุกต์แง่มุมต่างๆ ของสุนทรียศาสตร์ผู้คงแก่เรียนมาใช้กับวัตถุประสงค์หลายอย่างของการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับภาพและตัวบทต่างๆ เพื่อสอนสั่งถึงคุณความดีและความเชื่อในพลังของศิลปะ เพื่อแปรเปลี่ยนหัวใจของมนุษย์ และด้วยเหตุดังนั้น ทำให้เป็นความจริงทางการเมือง

    ในปี ค.ศ.1958 งานพิมพ์โดย Niu Wen ได้บูรณาการกวีนิพนธ์เข้ากับงานทัศนศิลป์ – แนวคิดของผู้คงแก่เรียน ซึ่งเป็นช่วงเวลานับจาก อย่างน้อยที่สุดสมัยราชวงศ์ซ้อง – และบรรดาชาวนาทั้งหลายต่างเพิ่มบทกวีลงบนผนังกำแพงในหมู่บ้านของพวกเขา โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960s แม้แต่งานจิตรกรรมภาพทิวทัศน์ในแบบจารีต (guo hua) ก็ถูกประยุกต์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ของการปฏิวัติคอมมิวนิสต์: งานพิมพ์ภาพทิวทัศน์ของ Huang Peimo ชื่อภาพ A Distant Source and a Long Stream (1973) ได้รวมเอาโลกทัศน์เก่าของผู้คงแก่เรียนเกี่ยวกับความสุขุมรอบคอบ เข้ากับปฏิบัติการในความว่างของเนื้อที่อันเป็นสุนทรียศาสตร์ของผู้คงแก่เรียน บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน

อ่านต่อ >>>

พิธีกรรมและดนตรี ในแนวคิดของขงจื่อ
ซุนซี: ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับระเบียบแบบแผน เสี้ยวทง: ผู้ปลดปล่อยดนตรีจากจริยศาสตร์ (ค.ศ.530)
สุนทรียศาสตร์ถูกครอบงำโดยชนชั้นสูง
วังเว่ย: งานจิตรกรรมจักต้องสอดคล้องกับ “ป้ากัว” หรือ แผนผังจักรวาล
ซังฮี: แนวทางหลัก 6 ประการสำหรับการตัดสินจิตรกรรม
การสังเคราะห์ในราชวงศ์ซ้อง(the Song Synthesis)
เหมาเซตุง, หลู่ซิ่น: ศิลปะรับใช้การปฏิวัติ
มวลชนในฐานะที่เป็นวีรบุรุษต่างๆ ในภาพเขียน
การปฏิวัติวัฒนธรรม (the Cultural Revolution) ค.ศ.1966–1976
ปล่อยให้ดอกไม้ร้อยดอกเบ่งบาน โรงเรียนร้อยแห่งแข่งขัน
สุนทรียศาสตร์จีน (Chinese aesthetics)
นำมาจาก EAST ASIAN AESTHETICS AND NATURE David Landis Barnhill

ศิลปะไม่ใช่การอธิบายเกี่ยวกับความจริงของผิวหน้า
กวีที่ยิ่งใหญ่ได้บรรลุถึงเอกภาพแห่งทวินิยม
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ วัฒนธรรมมนุษย์จึงไม่แยกจากธรรมชาติ
สุนทรียศาสตร์ชาวจีนตั้งอยู่บนฐานความหมายที่สาม (ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ)
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย