ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
สุนทรียศาสตร์จีน
สุนทรียศาสตร์จีน
(Chinese aesthetics)
นำมาจาก EAST ASIAN AESTHETICS AND NATURE David Landis Barnhill
สุนทรียศาสตร์จีน ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื่อ และพุทธศาสนา ซึ่งแสดงออกอย่างเด่นชัดและมีมุมมองที่ซับซ้อนเกี่ยวกับธรรมชาติ สมมุติฐานขั้นพื้นฐานคือ โลกแห่งปรากฏการณ์การแสดงออกเป็นที่ประจักษ์ในเต๋า วิถีแห่งธรรมชาติ. เต๋าไม่ใช่ความจริงแบ่งแยก และค่อนข้างเป็นกระบวนการที่ถูกทำให้เป็นแบบแผนเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ หรือบางทีเป็นการจัดการควบคุมเกี่ยวกับจักรวาลในการปฏิบัติตามแบบแผน เป็นวิถีแห่งการทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน อุดมคติของมนุษย์คือการทำความเข้าใจเต๋าและทำในสิ่งที่ลงรอยสอดคล้องกับเต๋า ทัศนะอันนี้เกี่ยวกับธรรมชาติสามารถได้รับการเรียกขานอย่างเหมาะสมว่า องค์รวมสำหรับเหตุผลอันหลากหลาย (organic for various reasons)
- อันดับแรก, ทั้งหมดของสัจจะหรือความเป็นจริงได้รับการประกอบกันเข้ามา ไม่มีอะไรที่แบ่งแยก อาณาบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปคือ สวรรค์ รวมถึงโลกและมนุษย์ทั้งหลาย (the Triad) คือความบริบูรณ์ทั้งหมดของธรรมชาติ
- อันดับที่สอง, ธรรมชาติคือการสร้างสรรค์ตัวเอง(self-creative) มากกว่าพระผู้สร้างที่แบ่งแยกซึ่งสรรค์สร้างโลกในอดีต ธรรมชาติโดยตัวของมันเองแสดงตัวในเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง อย่างไม่หยุดหย่อน. Zaohua, การสร้างสรรค์(the Creative,) กระทำในลักษณะเป็นไปเอง เกิดขึ้นเอง และเป็นไปในวิถีที่ไม่อาจคาดเดา แต่เต็มไปด้วยทักษะเสมอในการสรรค์สร้างความงดงามและความกลมกลืนของโลกธรรมชาติ
- อันดับที่สาม, สรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นก้อนหินและน้ำ มีพลังชีวิต เรียกในภาษาจีนว่าชี่(qi), ตามตัวอักขระหมายถึงลมหายใจของชีวิต (ปราณ)
- อันดับที่สี่, ปรากฏการณ์แต่ละสิ่งมีธรรมชาติของตัวมันเอง (has an individual nature), และอันนี้มิได้เพียงประกอบด้วยแก่นสารบางอย่าง แต่ประกอบด้วยพลังพิเศษโดยเฉพาะ(de), จิตวิญญาน (shen), และแบบแผนของความเจริญงอกงาม
- อันดับสุดท้าย, ปรากฏการณ์ทุกอย่างได้ถูกทำให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม โลกคืออาณาบริเวณแห่งความต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวของชี่ ปรากฏการณ์แต่ละอย่างมิใช่สิ่งที่แบ่งแยก แต่มีลักษณะเป็นรูปแบบชั่วคราวมากกว่า คล้ายดั่งน้ำวนในกระแสธาร
พิธีกรรมและดนตรี ในแนวคิดของขงจื่อ
ซุนซี: ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับระเบียบแบบแผน เสี้ยวทง:
ผู้ปลดปล่อยดนตรีจากจริยศาสตร์ (ค.ศ.530)
สุนทรียศาสตร์ถูกครอบงำโดยชนชั้นสูง
วังเว่ย: งานจิตรกรรมจักต้องสอดคล้องกับ ป้ากัว หรือ
แผนผังจักรวาล
ซังฮี: แนวทางหลัก 6 ประการสำหรับการตัดสินจิตรกรรม
การสังเคราะห์ในราชวงศ์ซ้อง(the Song Synthesis)
เหมาเซตุง, หลู่ซิ่น: ศิลปะรับใช้การปฏิวัติ
มวลชนในฐานะที่เป็นวีรบุรุษต่างๆ ในภาพเขียน
การปฏิวัติวัฒนธรรม (the Cultural Revolution) ค.ศ.19661976
ปล่อยให้ดอกไม้ร้อยดอกเบ่งบาน โรงเรียนร้อยแห่งแข่งขัน
สุนทรียศาสตร์จีน (Chinese aesthetics)
นำมาจาก EAST ASIAN
AESTHETICS AND NATURE David Landis Barnhill
ศิลปะไม่ใช่การอธิบายเกี่ยวกับความจริงของผิวหน้า
กวีที่ยิ่งใหญ่ได้บรรลุถึงเอกภาพแห่งทวินิยม
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
วัฒนธรรมมนุษย์จึงไม่แยกจากธรรมชาติ
สุนทรียศาสตร์ชาวจีนตั้งอยู่บนฐานความหมายที่สาม
(ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ)