ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

สุนทรียศาสตร์จีน

ซังฮี

 แนวทางหลัก 6 ประการสำหรับการตัดสินจิตรกรรม

ต่อมาอีกเล็กน้อย ซังฮี(Xie He) (fl. 479–501) (*) ได้วางแนวทางหลัก 6 ประการสำหรับการตัดสินพิจารณาผลงานจิตรกรรมและตัวจิตรกรทั้งหลาย ดังนี้

    (*) Xie He (5th century) was a Chinese writer, art historian and critic of the Liu Song and Southern Qi dynasties. Xie is most famous for his "Six principles of Chinese painting" taken from the preface to his book The Record of the Classification of Old Painters.

    (1) ความเคลื่อนไหวมีชีวิตชีวา ผ่านความสอดคล้องกลมกลืนของจิตวิญญาน (qi yun)
    (2) ระเบียบวิธีเชิงโครงสร้าง (หมายถึง โครงสร้างที่เป็นแกนของภาพ - literally bone means) ในการใช้ประโยชน์จากพู่กัน
    (3) ความซื่อสัตย์ ถูกต้องแม่นยำต่อวัตถุในการบรรยายรูปทรงต่างๆ
    (4) ความประสาน สอดคล้อง นุ่มนวล ในการใช้สีต่างๆ
    (5) การวางแผนอย่างเหมาะสมในการวางองค์ประกอบ หรือวัตถุธาตุทางศิลปะ
    (6) ในการคัดลอก ต้องต่อเนื่องกับแบบจำลองของโบราณ (Soper; Sakanishi; Sullivan, p. 95; Wen).



    อย่างไรก็ตาม การตีความตามหลักการข้างต้นจากข้อ 3 ถึงข้อ 6 โดยรวม สามารถเปรียบเทียบได้กับธรรมชาตินิยม, การใช้สี, การวางองค์ประกอบ, และการฝึกฝน ตามลำดับ

Michael Sullivan ได้อธิบายหลักการข้อที่ 1 ดังต่อไปนี้:

(Michael Sullivan (p. 96) explains principle 1 as follows) ชี่ (Qi) จิตวิญญานของจักรวาล

  ชี่ (Qi) คือจิตวิญญานของจักรวาล (ตามตัวอักษรหมายถึง ลมหายใจหรือไอหมอก (breath or vapor) ที่ทำให้ทุกสิ่งมีพลัง ชี่ให้ชีวิตและความเจริญเติบโตกับต้นไม้ ความเคลื่อนไหวของกระแสน้ำ พลังงานของชีวิตมนุษย์ และทำให้ภูเขาปลดปล่อยเมฆและไอหมอกออกมา ศิลปินจักต้องปรับตัวให้เข้ากับจิตวิญญานของจักรวาล ปล่อยให้มันซึมซ่านและมีผลต่อตัวเขาในช่วงขณะของแรงบันดาลใจ – และไม่มีคำพูดใดที่จะเหมาะสมยิ่งไปกว่านี้ – เขาอาจกลายเป็นพาหนะหรือตัวกลางสำหรับการแสดงออกของมัน

    “ชี่”มีอิทธิพลต่อทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งปราศจากความเคลื่อนไหว เมื่อมองจากมุมนี้ หลักการที่สาม สี่ และห้า จึงเป็นอะไรที่มากกว่าความแม่นยำทางสายตา ในฐานะรูปทรงต่างๆ ที่ดำรงอยู่ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นการแสดงออกทางสายตาเกี่ยวกับการทำงานของ”ชี่” โดยการเป็นตัวแทนที่เต็มไปด้วยศรัทธาในมัน ศิลปินสามารถแสดงออกถึงการรับรู้ของเขาเกี่ยวกับจิตวิญญานของจักรวาลในการทำงานได้(Sullivan, 1999, p. 96; Wen, 1963)

อ่านต่อ >>>

พิธีกรรมและดนตรี ในแนวคิดของขงจื่อ
ซุนซี: ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับระเบียบแบบแผน เสี้ยวทง: ผู้ปลดปล่อยดนตรีจากจริยศาสตร์ (ค.ศ.530)
สุนทรียศาสตร์ถูกครอบงำโดยชนชั้นสูง
วังเว่ย: งานจิตรกรรมจักต้องสอดคล้องกับ “ป้ากัว” หรือ แผนผังจักรวาล
ซังฮี: แนวทางหลัก 6 ประการสำหรับการตัดสินจิตรกรรม
การสังเคราะห์ในราชวงศ์ซ้อง(the Song Synthesis)
เหมาเซตุง, หลู่ซิ่น: ศิลปะรับใช้การปฏิวัติ
มวลชนในฐานะที่เป็นวีรบุรุษต่างๆ ในภาพเขียน
การปฏิวัติวัฒนธรรม (the Cultural Revolution) ค.ศ.1966–1976
ปล่อยให้ดอกไม้ร้อยดอกเบ่งบาน โรงเรียนร้อยแห่งแข่งขัน
สุนทรียศาสตร์จีน (Chinese aesthetics)
นำมาจาก EAST ASIAN AESTHETICS AND NATURE David Landis Barnhill

ศิลปะไม่ใช่การอธิบายเกี่ยวกับความจริงของผิวหน้า
กวีที่ยิ่งใหญ่ได้บรรลุถึงเอกภาพแห่งทวินิยม
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ วัฒนธรรมมนุษย์จึงไม่แยกจากธรรมชาติ
สุนทรียศาสตร์ชาวจีนตั้งอยู่บนฐานความหมายที่สาม (ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ)
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย