ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว

2

12.1 องค์รวมที่มีชีวิต

แนวความคิดเรื่องฤตาในคัมภีร์พระเวทได้เกิดขึ้นก่อนความคิดเรื่อง กรรม ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในภายหลังเพื่อแสดงความสัมพันธ์เชิงเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลาย กรรม หมายถึง “ การกระทำ “ และมุ่งแสดงความสัมพันธ์อย่างเคลื่อนไหวหรืออย่าง “ กระตือรือร้น “ ของปรากฎการณ์ทั้งหลาย ในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวไว้ว่า “ การกระทำทุกชนิดเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของกาลเวลาโดยการสานต่อของแรงต่างๆ ของธรรมชาติ “ พระพุทธเจ้าได้นำความคิดเรื่องกรรมมาใช้และให้ความหมายใหม่ โดยขยายขอบเขตความคิดในเรื่องการสอดประสานสัมพันธ์อันเป็นพลวัตนั้นสู่สภาพการณ์ของมนุษย์ ดังนั้น กรรม จึงกลายมาเป็นส่วนขยายของสายโซ่แห่งเหตุและผลอันไม่รู้สิ้นสุดของชีวิตมนุษย์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหักทำลายลงได้ในการตรัสรู้ของพระองค์ ศาสนาฮินดูมีวิธีมากมายที่จะแสดงธรรมชาติอันเคลื่อนไหวของจักรวาลในภาษาของเทพปกรณัม ดังที่พระกฤษณะกล่าวไว้ใน คีตา ว่า “ หากข้าฯ ไม่ตั้งตนอยู่ในการกระทำ โลกพิภพนี้ก็จะสลายลง “ และพระศิวะ พระผู้เริงรำแห่งเอกภพดูจะเป็นบุคลาธิษฐาน แทนจักรวาลอันเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยการเริงรำของพระองค์ พระศิวะได้ทำให้ปรากฏการณ์อันหลากหลายในโลกดำเนินไป พระองค์รวมเอาทุกสิ่งไว้ในจังหวะแห่งการร่ายรำของพระองค์ นับเป็นรูปเคารพซึ่งแสดงถึงเอกภาพอันเป็นพลวัตของจักรวาลได้งดงามยิ่ง

ศาสนาฮินดูได้ให้ภาพทั่วๆไป ของเอกภพว่ามีลักษณะเป็นองค์รวมที่มีชีวิต ( organic ) ขยายตัวและเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะ ภาพของจักรวาลที่ทุกสิ่งเป็นของไหลและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งซึ่งหยุดนิ่งทั้งมวลล้วนเป็น มายา อันเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น ความคิดเรื่องความไม่เที่ยงของทุกรูปลักษณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง “ และความทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดจากการพยายามยึดอยู่ในรูปลักษณ์อันตายตัว ไม่ว่าจะเป็น วัตถุ บุคคล หรือความคิด แทนที่จะยอมรับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของโลก โลกทัศน์ ในเชิงพลวัตจึงเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนาดังที่ปรากฏในคำกล่าวของราธะกฤษนันท์ว่า ปรัชญาแห่งการเคลื่อนไหวอันน่ามหัศจรรย์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยพระพุทธเจ้าเมื่อ 2,500 ปีมาแลัว…ด้วยความรู้สึกต่อความไม่คงตัวของวัตถุ การกลับกายเปลี่ยนแปลงบางอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของสิ่งต่าง ๆ พระพุทธองค์ทรงให้กำเนิดแก่ปรัชญาการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงย่อยสลายสสารวัตถุ วิญญาณ อณูสิ่งต่าง ๆ ลงเป็นแรง การเคลื่อนไหว ลำดับ และกระบวนการ ทั้งสร้างแนวคิดเรื่องสัจจะในเชิงพลวัต แผนภูมิแห่งการเปลี่ยนแปลงตามแบบลัทธิเต๋า แสดงการลื่นไหลและการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์อันเป็นเนื้อหาของโลกกายภาพ:ศตวรรษที่สิบเอ็ด, คัดลอกจากคัมภีร์เต๋าจัง

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย