ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12
จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
3
12.2 ผู้มาและไป
ชาวพุทธเรียกโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุดนี้ว่า สังสารวัฏ ซึ่งมีความหมายว่า การเคลื่อนไหวหมุนวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และชาวพุทธยังยืนยันว่าไม่มีสิ่งใดในวังวนนี้ซึ่งมีค่าควรแก่การยึดถือ ดังนั้นผู้รู้แจ้งของชาวพุทธก็คือผู้ที่ไม่ต่อต้านการเลื่อนไหลของชีวิต หากทว่าทำตนให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อมีผู้ถามท่านอวิ่นเหมิน (Yun-,men) พระภิกษุนิกาย ธยาน ว่า อะไรคือเต๋า ท่านตอบว่า เดินต่อไป ชาวพุทธยังเรียกพุทธองค์ว่า ตถาคต ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มาและไปแล้วเช่นนั้น ในปรัชญาจีน สัจธรรมแห่งการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุดนี้เรียกกันว่า เต๋า และถือเป็นกระบวนการของเอกภาพซึ่งเกี่ยวโยงกับทุกสิ่ง เช่นเดียวกับชาวพุทธ ผู้นับถือเต๋ากล่าวว่า บุคคลไม่ควรต้านการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง แต่ควรปรับเปลี่ยนการกระทำของตนให้สอดคล้องกับมันซึ่งนี่ก็คือคุณสมบัติของนักปราชญ์-ผู้รู้แจ้ง หากว่าพระพุทธเจ้าคือ ผู้มาและไปแล้วเช่นนั้น นักปราชญ์เต๋าคือ ผู้ซึ่ง เลื่อนไหลในกระแสของเต๋า ตามคำของฮวยหนั่นจื๊อ ยิ่งเราศึกษาคัมภีร์ของฮินดู พุทธ และเต๋ามากขึ้นเท่าใด เราก็ยิ่งประจักษ์ชัดเจนขึ้นว่าในทุกศาสนานั้นถือว่าโลกมีลักษณะแห่งการเคลื่อนไหว เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง นักปราชญ์ตะวันออกเห็นว่าจักรวาลเป็นข่ายใยอันไม่อาจแยกจากกันได้ และความเชื่อมโยงภายในข่ายในนั้น มีลักษณะ เคลื่อนไหว เติบโต และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ก็เห็นว่าจักรวาลเป็นข่ายใยแห่งสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเคลื่อนไหวโดยเนื้อหา
พลวัตแห่งสสารวัตถุเกิดขึ้นในทฤษฎีควอนตัมโดยเป็นผลเนื่องมาจากคุณสมบัติความเป็นคลื่นของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม และยิ่งมีความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งการรวมเป็นหนึ่งเดียวของอวกาศและเวลาได้แสดงนัยที่ว่า การดำรงอยู่ของสสารวัตถุไม่อาจแยกได้จากกิจกรรมของมัน ดังนั้นคุณสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมนั้น เราจะต้องศึกษาเข้าใจในแง่การเคลื่อนไหว ในปฏิกิริยา และการเปลี่ยนแปลงของมัน ตามทฤษฎีควอนตัม อนุภาคเป็นคลื่นด้วย นี่แสดงนัยที่ว่ามันประพฤติตนในลักษณะที่ประหลาดอย่างยิ่ง เมื่อใดที่อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมถูกจำกัดอยู่ภายในขอบขนาดเล็ก ๆ มันจะมีปฎิกิริยาต่อการจำกัดขอบเขตนี้โดยการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ยิ่งขอบเขตจำกัดนั้นมีขนาดเล็กลงมากเท่าใด อนุภาคจะยิ่ง สั่น เร็วขึ้นเท่านั้น พฤติกรรมของอนุภาคในลักษณะนี้เป็น ผลแห่งควอนตัม (Quantum Effect) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของโลกแห่งโลกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม โดยยังไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบให้เห็นในโลกของวัตถุที่มองเห็นได้ แนวโน้มของอนุภาคที่จะต่อต้านต่อการจำกัดขอบเขตของมันด้วยการเคลื่อนที่ แสดงให้เห็น สภาพอันไม่หยุดนิ่ง อันเป็นพื้นฐานของสสารวัตถุ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ในอาณาจักรแห่งอนุภาคทั้งหลายเหล่านี้ อนุภาคของวัตถุส่วนใหญ่ถูกดึงดูดไว้กับโครงสร้างของโมเลกุล อะตอมและนิวเคลียส ดังนั้นจึงไม่หยุดนิ่ง แต่มีแนวโน้มภายในที่จะเคลื่อนที่ไป นั่นคือมันมีสภาพที่ไม่อาจหยุดนิ่งโดยเนื้อหา ดังนั้นตามทฤษฎีควอนตัมสสารวัตถุจึงไม่เคยสงบนิ่ง แต่อยู่ในสภาพที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่จึงมองภาพของสสารวัตถุมิใช่สิ่งซึ่งเฉื่อยชาไร้การกระทำแต่เป็นสิ่งที่มีการร่ายรำและเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง โดยที่จังหวะการเคลื่อนที่ของมันถูกกำหนดโดยโครงสร้างของโมเลกุล อะตอมและนิวเคลียส และนี่ก็เป็นวิธีที่นักปราชญ์ตะวันออกมองโลกแห่งวัตถุ โดยต่างเน้นให้เห็นว่าต้องเข้าใจจักรวาลในเชิงพลวัต เนื่องจากมันเคลื่อนที่ สั่นไหว และร่ายรำตลอดเวลาเน้นให้เห็นว่าธรรมชาติอยู่ในดุลยภาพอันเคลื่อนไหว มิใช่หยุดนิ่ง ในคัมภีร์ของเต๋ากล่าวไว้ว่า ความสงบนิ่งในความสงบนิ่งมิใช่ความสงบนิ่งที่แม้จริง แต่เมื่อมีความสงบนิ่งในท่ามกลางการเคลื่อนไหวเท่านั้น ท่วงทำนองแห่งจิตวิญญาณจึงปรากฏ ทั้งในสวรรค์และบนโลกพิภพ