ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร


พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

เล่มที่ ๑๐

ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์

๘ . สักกปัญหาสูตร สูตรด้วยปัญหาของท้าวสักกะ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ้ำอิทสาละ ใกล้เวทยิกบรรพต ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ ชื่ออัมพสณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ.

ท้าวสักกะใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จึงเรียกปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน ปัญจสิขะถือพิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมไปด้วย เมื่อไปถึงที่ประทับแล้ว ท้าวสักกะจึงให้ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์หาทางทำความพอพระทัยให้พระผู้มีพระภาคก่อนที่จะได้เข้าไปเฝ้า.

ปัญจสิขะบุครคนธรรพ์ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป ดีดพิณ กล่าวคาถาด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม.

พระผู้มีพระภาคตรัสชมแก่ปัญจสิขะบุตรคนธรรมพ์ว่า เสียงพิณกับเสียงเพลงขับเข้ากันดี แล้วตรัสถามว่า คาถาอันเกี่ยวด้วยพระพุทธ เป็นต้นนี้ แต่งไว้ตั้งแต่ครั้งไร . ปัญจสิขะกราบทูลว่า ตังแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งน้ำเนรัญชรา.

ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะพร้อมด้วยบริวารก็เข้าไปเฝ้า เมื่อได้ตรัสสัมโมทียกถาพอสมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้ท้าวสักกะกราบทูลถามปัญหาได้ ต่อไปนี้เป็นคำถามและพระพุทธดำรัสตอบ.

๑. ถาม?เทวา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์และหมู่สัตว์เป็นอันมากอื่น ๆ ถูกอะไรผูกมัดแม้ตั้งใจว่าจะไม่จองเวร ไม่ใช่อาชฌาไม่มีศตรูไม่เบียดเบียน อยู่อย่างไม่มีเวรแต่ก็ต้องจองเวร ใช่อาญามีศัตรูเบียดเบียนและอยู่อย่างมีเวร.
ตอบ?มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเป็นเครื่องผูกมัด.

๒. ถาม? ความริษยาและความตระหนี่เกิดจากอะไร.
ตอบ? เกิดจากสิ่งเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่ที่รัก ก็ไม่มีความริษยาและความตระหนี.

๓. ถาม? สิ่งเป็นที่รักและไม่และเป็นที่รักเกิดจากอะไร.
ตอบ? เกิดจากคามพอใจ เมื่อไม่มีความพอใจ ก็ไม่มีสิ่งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก..

๔. ถาม? ความพอใจเกิดจากอะไร.
ตอบ? เกิดจากความตรึก ( วิตก ) เมื่อไม่มีความตรึก ก็ไม่มีความพอใจ.

๕. ถาม?ความตรึกเกิดจากอะไร .
ตอบ? เกิดจากปปัญจสัญญาสังขานิทาน คือส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลส ( ตัญหา ความทะยานอยาก , มานะ ความถือตัว , ทิฏฐิ ความเห็น ) เป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

๖. ถาม?ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติข้อที่ปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.
ตอบ ?โสมนัส ( ความดีใจ ) โทมนัส ( ความเสียใจ ) อุเบกขา ( ความวางเฉย ) มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพโสมนัส เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ ? ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้นสิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ . ธรรมที่ควรส้องเสพนั้น คือที่มีวิตก ( ความตรึก ) มีวิจาร ( ความตรอง ) ? ที่ไม่มีวิตก วิจาร ? ที่ไม่มีวิตก วิจาร แต่ปราณีตขึ้นไปกว่า . ( หมายถึงโสมนัส เป็นต้น อันเกิดเพราะเนกขัมมะบ้าง เพราะวิปัสสนาบ้าง เพราะอนุสสติบ้าง เพราะปฐมฌาน เป็นต้นบ้าง – อรรถกถาบ้าง ). ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

๗.ถาม?ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ).
ตอบ?ความประพฤติทางกาย ( กายสมาจาร ) ความประพฤติทางวาจา ( วจีสมาจาร ) และการแสวงหา ( ปริเยสนา ) อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพความประพฤติทางกายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนันก็ไม่ควรส้องเสพ ? ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ ภิกษุผู้บฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาฏิโมกข์.

๘.ถาม?ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ ( คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ).
ตอบ ? อารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น มี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ. ( พอตรัสถึงเพียงนี้ ท้าวสักกะก็กราทูลถามว่า เข้าใจความหมายว่า ที่ไม่ควรส้องเสพ และควรส้องเสพนั้น กำนดด้วย เมื่อส้องเสพแล้วอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมจะเจริญกันกันแน่ ).

๙.ถาม? สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีจุดหมายปลายทาง อย่างเดียวกันใช่หรือไม่.
ตอบ?ไม่ใช่ เพราะโลกธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่าง ๆ กัน สัตว์ยึดถือธาตุอันใด ก็กล่าวเพราะความยึดถือธาตนั้นว่า นี้แลจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ.

๑๐. ถาม?สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีความสำเร็จ มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องยึด ( โยคักเขมี ) เป็นพรหมจารี มีที่สุดล่วงส่วน ใช่หรือไม่ ( คำว่า ล่วงส่วน หมายความว่า เด็ดขาด ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก.
ตอบ?ไม่ใช่ จะมีความสำเร็จ เป็นต้น ล่วงส่วน ก็เฉพาะผู้ที่พ้นแล้วจากตัญหา ( ความทะยานอยาก) เท่านั้น.

ท้าวสักกะจึงกราบทูลว่า ตัญหาอันทำให้หวั่นไหว เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ย่อมฉุดคร่า บุรุษเพื่อให้เกิดในภพนั้น ๆ ถึงความสูงบ้าง ต่ำบ้าง . ครั้นแล้วได้แสดงความพอใจที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาแก้ความสงสัยได้ เท่าที่เคยไปถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่น แทนที่จะตอบ กลับมาย้อนถามว่า เป็นใคร ครั้นรู้ว่าเป็นท้าวสักกะ ก็กลับถามปัญหายิ่ง ๆ ขึ้นว่า ทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ ท้าวสักกะก็ตอบไปตามที่ได้ฟัง ที่เล่าเรียนมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อิ่มเอิบใจ ว่าได้เห็นท้าวสักกะ ได้ถามปัญหา แล้ะท้าวสักกะได้ตอบแก่เรา กลายมาเป็นสาวกของข้าพระองค์ไป.

ครั้นแล้วกล่าววาจาสุภาษิตอีกหลายประการ ในที่สุดได้เอามือลูบแผ่นดิน แล้วเปล่งอุทานว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส รวม ๓ ครั้ง.

หมายเหตุ ? พระสูตรนี้ มีท่วงทำนอง จะแก้ความเคารพบูชาเทวดาสำคัญ ๆ เช่น พระอินทร์หรือท้าวสักกะของบุคคลส่วนใหญ่ โดยชี้ให้เห็นว่าในพระพุทธศาสนา เทวดาเหล่านั้น ยังต่ำกว่าพระพุทธพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาตรัสรู้ เท่ากับเป็นหลักการอันหนึ่งที่แสดงว่า ท่านผู้เป็นพุทธะ เป็นผู้ตรัสรู้หมดกิเลส มีความบริสุทธิ์สะอาดสูงกว่าเทวดาทั้งปวง.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- มหาปทานสูตร สูตรว่าด้วยข้ออ้างด้วยของใหญ่
- มหานิทานสูตร สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่
- มหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
- มหาสุทัสสนสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์
- ชนวสภสูตร สูตรว่าด้วยยักษ์ชื่อชนวสภะ
- มหาโควินทสูตร สูตรว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์
- มหาสมยสูตร สูตรว่าด้วยการะประชุมใหญ่
- สักกปัญหาสูตร สูตรด้วยปัญหาของท้าวสักกะ
- มหาสติปัฏฐานสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่
- ปายาสิราชัญญสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าปายาสิ


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย