ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร


พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

เล่มที่ ๑๐

ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์

เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์ เป็นพระสุตตันตปิฎก (เล่ม ๒)

๓. มหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

เริ่มเรื่องเล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แคว้นมคธ ต้องการจะตีแคว้นวัชชีไว้ในอำนาจ.

จึงส่งวัสสการพราหมณ์ให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเล่าความให้ทรงทราบแล้ว ให้วัสสการพราหมณ์ฟังดูว่าจะทรงพยากรณ์อย่างไร เพราะเชื่อว่าจะไม่ตรัสผิดความจริง.

วัสสการพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากราบทูลเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามพระอานนท์ทีละข้อถึงธรรมะ ๗ ประการที่ชาววัชชีประพฤติกัน อันจะหวังความเจริญได้โดยส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ว่าพระอานนท์เคยได้ฟังบ้างหรือเปล่า พระอานนท์ก็กราบทูลว่า เคยได้ฟัง ธรรมะ ๗ ประการนั้น คือชาววัชชี

๑. จะหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์.

๒. จะพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจของชาววัชชี.

๓. จะไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ จะไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จะประพฤติปฏิบัติในวัชชีธรรมอันเป็นของเก่า.

๔. จะเคารพเชื่อฟังชาววัชชีผู้แก่เฒ่า.

๕. จะไม่ก้าวล่วงข่มแหงกุลสตรี ( หญิงที่มีสามีแล้ว ) และกุลกุมารี ( หญิงสาวที่ยังไม่มีสามี ).

จะเคารพนับถือเจดีย์ของชาววัชชีทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยพลีกรรมอันเป็นธรรมที่เคยให้เคยทำ.

๗. จะจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม ในพระอรหันต์ของชาววัชชี จะตั้งใจว่า พระอรหันต์ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข.

ครั้นแล้วได้ตรัสแก่วัสสการพราหมณ์ว่า พระองค์เคยตรัสแสดงวัชชีปริหานิยธรรม ( ธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อมของชาววัชชี ) ๗ ประการ เมื่อประทับ ณ สารันทเจดีย์.

วัสสการพราหมณ์ก็กราบทูลว่า เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็หวังความเจริญได้ ไม่มีเสื่อม จะกล่าวไยถึง ๗ ข้อ พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ควรทำการรบกับชาววัชชี เว้นไว้แต่วิธียุและทำให้แตกกัน แล้วกราบทูลลากลับไป.

เมื่อวัสสการพราหมณ์กลับไปแล้ว จึงตรัสให้เรียกประชุมภิกษุที่อยู่กรุงราชคฤห์ทั้งหมด แล้วทรงแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อมของภิกษุ ๗ อย่าง รวมเป็น ๕ นัย ๖ อย่าง ๑ นัย ( รวมเป็น ๓๑ ข้อ ).

ระหว่างที่ประทับ ณ เขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์นั้น ทรงแสดงเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >> หน้า 2

- มหาปทานสูตร สูตรว่าด้วยข้ออ้างด้วยของใหญ่
- มหานิทานสูตร สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่
- มหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
- มหาสุทัสสนสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์
- ชนวสภสูตร สูตรว่าด้วยยักษ์ชื่อชนวสภะ
- มหาโควินทสูตร สูตรว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์
- มหาสมยสูตร สูตรว่าด้วยการะประชุมใหญ่
- สักกปัญหาสูตร สูตรด้วยปัญหาของท้าวสักกะ
- มหาสติปัฏฐานสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่
- ปายาสิราชัญญสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าปายาสิ


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย