ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
หลักสูตรพุทธศาสนา
หลักสูตรพุทธศาสนา (ระดับมัธยมต้น-ปลาย)
บทที่ ๑๐ พระสงฆ์และการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์
๑. พระรัตนตรัย
รัตนตรัย แปลว่า แก้ว ๓ ประการ คือหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง ๓ อย่าง
อันได้แก่
๑. พระพุทธ คือพระพุทธเจ้า
๒. พระธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
๓. พระสงฆ์ คือผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
๒. พระสงฆ์ ๒ ประเภท
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ผู้ขออาหาร ซึ่งภิกษุนั้นจะนับจำนวนเป็น รูป เช่นภิกษุ ๑
รูป แต่ถ้ามีภิกษุมาประชุมอยู่ด้วยกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจะเรียกว่า สงฆ์
(พระสงฆ์) ซึ่งพระสงฆ์นี้ก็มีแยกได้ ๒ ประเภท อันได้แก่
๑. สมมติสงฆ์ คือพระสงฆ์โดยสมมติ
๒. อริยสงฆ์ คือเป็นพระสงฆ์โดยคุณธรรม
สมมติสงฆ์นั้นก็คือผู้ ที่ได้รับการบวชมาอย่างถูกต้องตามพระวินัย(ศีลของพระภิกษุ)เท่านั้น ส่วนอริยสงฆ์นั้นก็คือ การได้บรรลุคุณธรรมภายในจิตใจ จนทำให้เป็นพระอริยบุคคลในขั้นต่างๆขึ้นมา(ซึ่งมีอยู่ ๔ ขั้น)
๓. หน้าที่ของพระสงฆ์
พระสงฆ์นั้นเมื่อบวชมาแล้วจะมีหน้าที่อยู่ ๔ ประการ อันได้แก่
๑. ศึกษาหลักคำสอน
๒. ปฏิบัติตามคำสอน
๓. เผยแผ่คำสอน
๔. ปกป้องคำสอน
จุดประสงฆ์ของการบวชเป็นภิกษุที่แท้จริงก็คือปรารถนาจะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความพ้นทุกข์อย่างถาวร(นิพพาน) ซึ่งก็ต้องมีการศึกษา และปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง จึงจะบรรลุถึงจุดที่มุ่งหมาย และยังต้องมีหน้าที่สอนผู้อื่นต่อไปด้วย อีกทั้งยังต้องคอยปกป้องคำสอนเอาไว้ไม่ให้ใครมาบิดเบือนหรือทำลายได้.
๔. การปฏิบัติต่อพระสงฆ์โดยสรุป
การปฏิบัติต่อพระสงฆ์อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยสรุปนั้นก็ได้แก่
๑. ทางกาย โดยการปฏิบัติต่อท่านอย่างสุภาพเหมาะสม
๒. ทางวาจา โดยการพูดกับท่านอย่างสุภาพอ่อนไพเราะอ่อนโยน
๓. ทางใจ โดยการคิดแต่สิ่งที่ดีงามต่อท่าน
๕. การปฏิบัติต่อพระสงฆ์ในที่สาธารณะ
๑. แสดงความเคารพ(ยกมือไหว้)
๒. ไม่นั่งเสมอหรือสูงกว่า
๓. สตรีไม่ควรนั่งม้ายาวเดียวกับพระสงฆ์ (ควรมีบุรุษนั่งครั่น)
๔. ในที่ประชุมควรให้พระสงฆ์นั่งแถวหน้า
๕. ควรสละที่นั่งแก่พระสงฆ์บนรถหรือเรือ
๖. การสนทนากับพระสงฆ์
๑. ใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า ผม หรือ ดิฉัน
๒. ใช้สรรพนามแทนพระสงฆ์ว่า ท่าน,
พระคุณท่าน(ถ้าเป็นญาติให้เรียกหลวงพี่,หรือหลวงพ่อ เป็นต้น ตามลำดับญาติ)
๓. เวลาพูดรับใช้คำว่า ครับ , ค่ะ
๔. เวลาพระพูดอย่าพูดสอด
๕. เวลาฟังพระเทศน์ให้ประนมมือ
๗. การถวายภัตตาหารและปัจจัย
๑. เวลาใส่บาตรให้ถอดหมวก ถอดรองเท้า
๒ เวลาประเคน(ถวาย)อาหาร ควรห่างประมาณ ๑ ศอก
๓. สตรีควรถวายที่ผ้ารับประเคน
๔. หลังเที่ยงไม่ต้องประเคนอาหาร
๕. ไม่ควรถวายเงิน(ปัจจัย) ถ้าจะถวายควรใส่ซองแล้วใส่ย่าม
๖. ห้ามบอกชื่ออาหารที่จะนิมนต์(เชิญ)ไปฉันที่บ้าน
๗. ไม่เจาะจงภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน
» บทที่ ๑ หลักพุทธศาสนาโดยสรุป
» บทที่ ๒ หลักพื้นฐานพุทธศาสนา
» บทที่ ๑๑ ชาวพุทธ และศาสนพิธี