ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

หลักสูตรพุทธศาสนา

หลักสูตรพุทธศาสนา (ระดับมัธยมต้น-ปลาย)

บทที่ ๑๑ มารยาทชาวพุทธ ศาสนพิธีและวันสำคัญทางศาสนา

๑. การปฏิสันถาร
การปฏิสันถารคือการต้อนรับแขกผู้มาเยือน ซึ่งทำได้หลายวิธีคือ ด้วยวาจาไพเราะ ให้ที่พักอาศัย และแสดงน้ำใจต่อกัน เพื่อให้ผู้มาเยือนพอใจ

๒. การแต่งกาย
ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับวัย ไม่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงของประเทศชาติบ้านเมือง เช่นนุ่งกางเกงในออกนอกบ้านเป็นต้น

๓. การรับประทานอาหาร
ควรมีระเบียบเรียบร้อย ประหยัด มีอนามัย อย่าทำให้เกิดความน่ารังเกียจแก่ผู้ร่วมรับประทานอาหารด้วย เช่นทำมูมมาม ทำหกเลอะเทอะ ทำเสียงดังซูดซ๊าด หรือกินอย่างตายอดตายอยากมาก่อน

๔. การไหว้(วันทา)
๑. ไหว้พระรัตนตรัย คือยกมือประนมให้ปลายนิ้วจรดหน้าผาก ปลายหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ถ้าเป็นหญิงยืนไหว้ให้สืบเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมทั้งน้อมตัวไหว้(ถอนสายบัว)
๒. ไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์ คือให้ยกมือประนม ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ปลายหัวแม่มือจรดปลายจมูก ถ้าเป็นหญิงยืนไหว้ให้สืบเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมทั้งน้อมตัวไหว้
๓. ไหว้ผู้ที่อาวุโส หรือผู้ที่เคารพทั่วๆไป คือยกมือประนมให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ปลายหัวแม่มือจรดปลายคาง
๔. ไหว้คนเสมอกัน คือยกมือประนมเสมออก จะค้อมศีรษะลงเล็กน้อยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งการรับไหว้จากคนอื่นก็ทำอย่างนี้
๕. การกราบ(อภิวาท)

การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือชายนั่งคุกเข่า ส่วนหญิงนั่งทอดปลายเท้าแล้วนั่งทับเท้า การกราบชายให้เข่า ๒ มือ ๒ หน้าผาก ๑ จรดพื้น และแบมือให้ห่างกันเล็กน้อยพอหน้าผากจะลงได้ ให้ข้อศอกต่อเข่า ส่วนหญิงหมอบให้ขาชิดกัน ข้อศอกคร่อมเข่า ไม่ต้องต่อเข่าแบบชาย

๖. มารยาทในห้องเรียนหรือห้องบรรยาย
๑. แต่งตัวเรียบร้อย
๒. ไม่คุย ไม่เล่น ไม่ดื่ม
๓. ตั้งใจฟัง ไม่หลับ
๔. ควรยกมือก่อนถาม
๕. รักษากติการะเบียบ  

๗. มารยาทในที่ประชุม
๑. แต่งกายสุภาพ
๒. อย่าพูดสอด
๓. รักษามารยาท
๔. ทำใจให้กว้าง
๕. ไม่พูดเรื่องส่วนตัว
๖. ขออนุญาตก่อนพูด
๗. ขออนุญาตก่อนถ้าจะเลิกก่อน

๘. มารยาทในการไปเยี่ยมผู้อื่น
๑. ควรหาโอกาสไปเยี่ยม
๒. ก่อนเข้าบ้านหรือห้องควรให้สัญญาณ
๓. ควรทำความเคารพเจ้าของบ้านก่อน
๔. ไม่ควรอยู่นานเกิน
๕. ไม่ควรนำคนที่ไม่รู้จักไปด้วย
๖. เมื่อจะกลับให้บอกลา

๙. มารยาทในการต้อนรับ
๑. เมื่อแขกมาเยือน เจ้าของบ้านควรต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้ม
๒. เชิญแขกนั่ง หาน้ำต้อนรับ
๓. ไม่ควรถามแขกว่ามีธุระอะไร
๔. อย่าทำอะไรที่ดูเหมือนไล่แขกทางอ้อม
๕. เมื่อแขกลากลับควรเดินไปส่ง

๑๐. มารยาทในการไปงานมงคล
๑. แต่งกายเหมาะสมตามงาน
๒. ควรไปถึงก่อนเวลา
๓. ไม่ควรสนทนาเรื่องไม่เหมาะสม
๔. ควรให้เกียรติเจ้าภาพ
๕. เมื่อจะกลับควรลาเจ้าภาพก่อน

๑๑. มารยาทในการไปงานศพ
๑. แต่งตัวตามประเพณี คือชุดดำ หรือชุดพระราชทาน หรือเครื่องแบบข้าราชการ นักเรียน
๒. ไม่ควรพูดคุยสนุกสนาน
๓. ไม่ควรรดน้ำศพผู้อาวุโสน้อยกว่า
๔. เมื่อแขกผู้มีเกียรติจุดไฟ เราควรยืนพร้อมกันด้วยความสงบ

๑๒. มารยาทในการสนทนา
๑. ใช้วาจาและกิริยาที่สุภาพ
๒. ให้โอกาสคนอื่นพูดบ้าง
๓. อย่าเล่าเรื่องตนเองมากเกินไป
๔. อย่าอวดตน อย่านินทาผู้อื่น
๕. อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรมของตนเองมากเกินควร
๖. อย่าเอาความลับคนอื่นมาเปิดเผย
๗. อย่าขัดคอคนอื่น
๘. อย่าหยอกล้อกันจนเกินควร

๑๓. มารยาททั่วไปในที่สาธารณะ
๑. อย่าเดินเบียดคนอื่น
๒. ควรกล่าวขอโทษถ้าบังเอิญไปล่วงเกินผู้อื่น
๓. ควรกล่าวขอบคุณเมื่อผู้อื่นทำอะไรให้
๔. อย่าสูบบุหรี่และส่งเสียงดัง
๕. เคารพกฎของสถานที่ที่กำหนดไว้
๖. ช่วยกันรักษาความสะอาด
๗. ไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม

ศาสนพิธี
พิธีกรรมของพุทธศาสนาที่พบเห็นได้บ่อยก็ได้แก่
๑. พิธีอุปสมบท ซึ่งเป็นการ บวชเป็นพระภิกษุและถือศีล ๒๒๗ ข้อ

๒. พิธีพรรพชา ซึ่งเป็นการบวชเป็นสามเณรและถือศีล ๑๐ ข้อ
ส่วนประเพณีของชาวพุทธที่พบเห็นได้บ่อยก็ได้แก่
๑. การทอดกฐิน คือการเอาผ้าไตรจีวร(ผ้านุ่งผ้าห่มเป็นชุด)ไปถวายพระสงฆ์ช่วงหลังจากออกพรรษาแล้วประมาณ ๑ เดือน
๒. ทอดผ้าป่า คือการเอาผ้าเป็นผืนไปถวายพระสงฆ์ จะถวายเมื่อไรก็ได้
๓. การทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ เป็นต้น.

วันสำคัญทางศาสนา
วันสำคัญทางพุทธศาสนาก็ได้แก่
๑. วันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ,ตรัสรู้,ปรินิพพาน
๒. วันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก
๓. วันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระอริยสงฆ์จำนวนมากมาประชุมพร้อมกัน
๔. วันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์จะอยู่ประจำที่เป็นเวลา ๓ เดือน
๕. วันออกพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์ครบกำหนดจำพรรษา

 

» บทที่ ๑ หลักพุทธศาสนาโดยสรุป

» บทที่ ๒ หลักพื้นฐานพุทธศาสนา

» บทที่ ๓ พุทธธรรม

» บทที่ ๔ คุณธรรมประจำใจ

» บทที่ ๕ พุทธประวัติ

» บทที่ ๖ ประวัติพุทธสาวก

» บทที่ ๗ หน้าที่ชาวพุทธ

» บทที่ ๘ การฝึกสมาธิ

» บทที่ ๙ การพัฒนาปัญญา

» บทที่ ๑๐ พระสงฆ์

» บทที่ ๑๑ ชาวพุทธ และศาสนพิธี

» บทที่ ๑๒ ภาษาบาลีและพุทธภาษิต

» บทที่ ๑๓ ศาสนาโลก

» บทที่ ๑๔ ธรรมประยุกติ

» บทที่ ๑๕ ปรมัตถธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย