ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
หลักสูตรพุทธศาสนา
หลักสูตรพุทธศาสนา (ระดับมัธยมต้น-ปลาย)
บทที่ ๙ การพัฒนาปัญญา
๑. ปัญญาคือความรอบรู้
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ซึ่งปัญญานี้ก็มีอยู่ ๒ ประเภท อันได้แก่
๑. ปัญญาทางโลก คือความรอบรู้ในเรื่องวิชาการต่างๆของชาวโลก
๒. ปัญญาทางธรรม คือความรอบรู้ในเรื่องการดำเนินชีวิต
ปัญญาทางโลกจะช่วยให้เราอยู่รอดในโลกได้อย่างสุขสบายไม่เดือดร้อน ส่วนปัญญาทางธรรมจะช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้โดยมีความทุกข์น้อยที่สุดได้.
๒. ปัญญาเกิดได้ ๓ ทาง
ปัญญานี้สามารถเกิดขึ้นได้ ๓ ทาง อันได้แก่
๑. จากการฟัง หรืออ่าน
๒. จากการคิดพิจารณา
๓. จากการปฏิบัติ
เมื่อฟังหรืออ่านหนังสือที่มีประโยชน์ ก็เกิดความรอบรู้ที่จำเอามาได้ หรือถ้ารู้จักคิดพิจารณาให้ดี ก็เกิดความรู้ชนิดที่เป็นความเข้าใจได้ และถ้ามีการทดลองปฏิบัติจนบังเกิดผล ก็จะเกิดความเห็นแจ้ง(รู้แจ้งเห็นจริง)ซึ่งจัดเป็นความรู้สูงสุด.
๓. หลักการฟัง
การพัฒนาปัญญาก็คือการสร้างปัญญาให้เจริญมากขึ้น
ซึ่งการฟังรวมทั้งการอ่านตำราเพื่อให้เกิดปัญญานี้จะต้องอยู่ในหลักการต่อไปนี้
๑. ตั้งใจฟัง(มีสมาธิขั้นใช้งาน)
๒. ฟังหรืออ่านสิ่งที่เป็นสาระ
๓. รู้จักแยกแยะเนื้อหา และสรุปใจความสำคัญ
๔. ไม่มีอคติต่อผู้สอน(ไม่ลำเอียง)
๔. หลักการคิด
ในการคิดที่จะให้เกิดปัญญานี้จะมีหลักการคิดดังนี้
๑. คิดอย่างตั้งใจ(มีสมาธิขั้นใช้งาน)
๒. คิดในสิ่งที่เป็นสาระ
๓. คิดด้วยเหตุด้วยผล
๔. คิดอย่างเป็นระบบ
๕. การปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญา
การปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญานั้น ก็แยกได้ ๒ ทางคือ
๑. ทางโลกก็คือการทดลองปฏิบัติทางวัตถุทั้งหลาย
ซึ่งก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงทางวัตถุจนสามารถตั้งเป็นทฤษฎีทางวัตถุทั้งหลายขึ้นมา
๒. ทางธรรมก็คือการปฏิบัติศีล สมาธิ และปัญญา
จนบังเกิดเป็นความรู้แจ้งเห็นจริงต่อชีวิตและต่อโลก
» บทที่ ๑ หลักพุทธศาสนาโดยสรุป
» บทที่ ๒ หลักพื้นฐานพุทธศาสนา
» บทที่ ๑๑ ชาวพุทธ และศาสนพิธี