วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
เสือโคร่ง
เสือดาว
เสือดำ
เสือลายเมฆ
แมวป่าหัวแบน
แมวป่า
แมวลายหินอ่อน
แมวดาว
เสือปลา
เสือโคร่ง
เสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรีย
เสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศรัสเซีย
มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อยู่บริเวณชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
และอาจมีอยู่ทางเหนือของเกาหลีเหนือ
เสือโคร่งในรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นปรีมอร์เย และบางส่วนอยู่ในฮาบารอฟสค์
เสือโคร่งในรัสเซียประสบแรงกดดันมากจากการล่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมือง ในปี 2537
ข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมโดย อา.
อะมีร์ฮานอฟระบุว่ามีเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในรัสเซียเหลือเพียง 150-200 ตัว
ทั้งที่ในกลางทศวรรษ 1980 มียังมีอยู่ 250 ถึง 430 ตัว ก่อนหน้านั้นในทศวรรษ 1930
เสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียเคยมีจำนวนต่ำถึงประมาณ 20 ถึง 30 ตัวเท่านั้น
แต่หลังจากเริ่มมีกฎหมายคุ้มครองในปี 1947 จำนวนเสือโคร่งก็ค่อยเพิ่มมากขึ้น
ช่วงปลายทศวรรษ 1980 มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากมีข้อเสนอให้มีการล่าเสือโคร่งเชิงกีฬาเพื่อลดจำนวนของมัน
ฝ่ายที่ยื่นข้อเสนออ้างว่าจำนวนเสือโคร่งมีมากเกินไปจนไม่สมดุลกับจำนวนประชากรของสัตว์เหยื่อ
และยังเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในฟาร์มของชาวบ้าน
แต่ข้อพิพาทนี้ยุติในเวลาต่อมาเพราะมีการล่าอย่างผิดกฎหมายมากจนทำให้จำนวนเสือโคร่งลดลง
หลังจากนั้นการคุ้มครองเสือโคร่งเริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการร่วมมือของรัฐบาลกับองค์กรพัฒนาเอกชน
ในประเทศรัสเซีย พบเสือโคร่งในซีโฮเตอะลิน (พื้นที่ 3,471 ตารางกิโลเมตร) ลาซอฟสกีย์ (พื้นที่ 1,165 ตารางกิโลเมตร) และ ทุ่งเคโดรวายา (พื้นที่ 179 ตารางกิโลเมตร) เสือโคร่งไซบีเรียในรัสเซียแตกต่างจากเสือโคร่งในที่อื่น ๆ เพราะส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ ในต้นปี 2536 ได้มีการสำรวจในเขตลาซอฟสกี พบเสือโคร่ง 22 ตัว (ตัวเต็มวัย 14 ตัว และเสือวัยรุ่น 8 ตัว) ในจำนวนนี้มีประมาณ 10 ตัว (เสือเต็มวัย 8 ตัวและเสือวัยรุ่น 2 ตัว) ที่อาศัยอยู่ตามขอบของพื้นที่ ในปี 2529 บรากิน ได้สำรวจจำนวนเสือโคร่งในเขตอนุรักษ์ซีโฮเตอะลินพบว่าในจำนวนเสือโคร่งทั้งหมดที่พบ มี 25 ตัวหรือหนึ่งในสามประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและพื้นที่ป่าไม่เพียงพอ มีจำนวนเพียงไม่กี่ตัวที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ภายในเขตอนุรักษ์ ในปี 1991 คอร์คิชโค และ พิคูนอฟ ประเมินว่ามีเสือโคร่ง 9 ตัว (ตัวผู้เต็มวัย 3 ตัว วัยรุ่น 1 ตัว ตัวเมียเต็มวัย 4 ตัว วัยรุ่น 1 ตัว) อาศัยอยู่ในทุ่งเคโดรวายา
กล่าวโดยสรุปแล้ว มีเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในรัสเซียประมาณ 20 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่อาศัยอยู่ภายในเขตอนุรักษ์ นอกนั้นอยู่ในพื้นที่ ๆ มีการทำป่าไม้และมีการล่าสัตว์กีบอย่างหนักและเพิ่มขึ้นทุกวัน
ที่ประเทศจีน ในปี 2533 มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในเทือกเขาฉางไป๋ (1,905 ตารางกิโลเมตร) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในเกาหลีเหนือ เชื่อว่ายังมีเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขาแปกดู ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อเทือกเขาฉางไป๋ของจีน
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)